สุกรรณ์ สังข์วรรณะ เกษตรกรผู้เป็นความภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงให้กับคนสุพรรณบุรี ที่ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เดินตามรอยเท้าพ่อหลวง นายหลวงรัชกาลที่9 ที่สามารถนำมาเป็นต้นแบบ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่จะเป็นหนทางสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพชาวนาไทย
เรียนจบทางด้านการเกษตรต้องการการจะทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก แต่ตอนแรกทำเกษตรอินทรีย์สุดโต่งใช้ชีวิตอยู่อย่างสมถะ ทำได้7 ปี พบว่าไม่คุ้ม เนื่องจากสภาพดินที่ สุพรรณบุรียังขาดธาตุอาหารบางชนิด และยังมีแมลงศัตรูพืชอีกจำนวนมาก ต่อมามีครอบครัวเป็นของตัวเองครอบครัวขยายขึ้นจึงเริ่มคิดหาแนวทางที่จะสามารถสร้างรายได้ให้มากขึ้น และมีความมั่นคง จึงเปลี่ยนมาเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน
ตอนนั้นมีแรงบันดาลใจเริ่มมาตั้งแต่เรียนจบชั้น ประถมปีที่ 6 เพราะครอบครัวเองก็มีอาชีพขาวนาซึ่งสมัยนั้นความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบากมาก จึงอยากจะทำนา ทำการเกษตรให้ประสบความสำเร็จ จึงเลือกเรียนด้านการเกษตรโดยเฉพาะ มีพ่อหลวง นายหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแรงบันดาลใจ และต้นแบบในการดำเนินชีวิต เรียนรู้การใช้ชีวิตและวิถีปฎิบัติจากพระองค์ท่าน ร่วมถึงเรื่องการทำเกษตรผสมผสานก็ทำตามแบบที่พระองค์ท่านดำรัส อย่างถูกต้องที่สุด
จากนั้นได้มีการพัฒนาการทำการเกษตรผสมผสานแบบพระราชดำรัส ไม่ปลูกพืชอย่างเดียว ที่ลุมทำนา ที่สูงปลูกอ้อยและพืชไร่ ขยายพื้นที่เป็น500 ไร่ นาข้าว 100 กว่าไร่ อ้อย 300 ไร่ แปลงกล้วยหอม โคกระบือ ขุดบ่อเลี้ยงปลา แปลงทฤษฎีใหม่ 33 ไร่ โดยการประยุกต์ความรู้เกษตรอินทรีย์ ในการทำปุ๋ย มาใช้ร่วมในเกษตรผสมผสาน ซึ่งได้ความรู้จากการเรียนเกษตร และได้ศึกษาแนวคิดตามพระราชดำรัสของนายหลวงรัชกาลที่ 9 จากนั้นได้ทดลองและพัฒนา
ปัญหาที่เจอในการทำเกษตร นั้นก็คือเรื่องน้ำ เพราะว่าอยู่พื้นที่นอกเขตชลประทาน เลยต้องขุดบ่อน้ำ และบริหารจัดการน้ำเอง
สำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ ยกตัวอย่างจากพื้นที่ 15 ไร่ แบ่งเป็ ขุดบ่อน้ำ 4 ไร่ ลึก 3 เมตร เลี้ยงปลา ปลูกพื้นน้ำ ปลูกบัว เลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ
การบริหารจัดการน้ำ 100 คิว ต่อพื้นที่ 1 ไร่
- นา 5 ไร่ ปลูกข้าวตามฤดูกาล ได้ผลผลิตเป็นข้าว 70 ถังต่อ 1 ไร่
- รวมทั้งหมดได้ข้าว 3 ตันครึ่งต่อหนึ่งปี เพีงพอแต่การใช้รับประทานเองในครอบครัวที่เหลือนำไปขายเป็นรายได้ ปลูกพืชผักที่คันนา ใช้ทานเองแถมยังสร้างรายได้ ฟางที่ได้จากนาก็เอามาเป็นอาหารสัตว์
- ป่า 5 ไร่ ทำตามหลักการ ป่า3 อย่าประโยชน์ 4 อย่าง
- การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ…”
- บ้าน 1 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ที่เลี้ยงเมื่อขับถ่ายก็เอามาเป็นปุ๋ย เพื่อเสริมอาหารให้กับพืชที่ปลูก
- มีฐานการเรียนรู้ทั้ง 5 ฐาน
- การทำปุ๋นอินทรีย์
- กบคอนโดว
- การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
- ฟาร์มปศุสัตว์
- หนองหญ้าไซ โมเดล โมเดลการบริหารจัดการพื้นที่ ของอำเภอ หนองหญ้าไซ
- รายได้และช่องทางการจัดจำหน่าย
- รายได้หลักมาจากข้าว ที่ขายให้กับโรงสีที่ตนเองรู้จักคุ้นเคย ไม่มุ่งเน้นสร้างธุรกิจ
- รายได้เสริมจากผลผลิตอื่นๆในพื้นที่ของตนตั้งแต่ ฟางข้าว ผักที่ปลูกที่คันนา พืชผัก
รายได้และช่องทางการจัดจำหน่าย รายได้หลักมาจากข้าว ที่ขายให้กับโรงสีที่ตนเองรู้จักคุ้นเคย ไม่มุ่งเน้นสร้างธุรกิจ รายได้เสริมจากผลผลิตอื่นๆในพื้นที่ของตนตั้งแต่ ฟางข้าว ผักที่ปลูกที่คันนา พืชผัก ไม้ยืนต้น สัตว์ที่เลี้ยง และอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายมีไม่มากเพราะสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ของตน ภูมิใจที่ได้ทำงานถ่ายทอดแนวคิด และหลักการที่ดีที่สุดในโลกของนายหลวงรัชกาลที่ 9 โดยทำงานเป็นวิทยากรพิเศษ ให้กับมูลนิธิข้าวไทย ภูมิใจที่ได้แบ่งบันความรู้ พัฒนาการเกษตรตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินไทย
” สุกรรณ์ สังข์วรรณะ “
#เรียบเรียงโดย ทีมงานเกษตรสัญจร