คุณสุฑิพงศ์ สินตรีขันธ์ : ถ้าพูดถึงการเลี้ยงปลาช่อน เพื่อจำหน่าย หลายคนอาจจะมองว่าเป็นที่เรื่องยุ่งยาก แต่สำหรับผมแล้ว การเลี้ยงปลาช่อน ง่ายนิดเดียว อยากรู้ใช้ไหมว่าเลี้ยงยังไง ไปดูกัน ..!!
ในอดีต (ก่อนมาเลี้ยงปลา) : คุณพ่อเป็นชาวนา ไม่ได้เลี้ยงปลา แต่สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรปลาในธรรมชาติจากเด็กจนโต พบว่าปลาลดน้อยลงไปทุกวัน และเมื่อมองถึงการเลี้ยงปลาอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปลาในธรรมชาติลดลง แรกเริ่มได้ศึกษาความรู้มาจากศูนย์ศีลปาชีพบางไทรรุ่นที่ 2 และศึกษาเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับ อาจารย์มานพ ตั้งตรงไพโรจน์ นักวิชาการประมง แล้วออกมาทำเองแบบผิดๆ ถูกๆ อาจารย์ก็ตามมาให้ข้อมูลจนประสบความสำเร็จขึ้นมา เมื่อได้เลี้ยงจริงก็ประสบปัญหาการขาดทุน เพราะไม่เข้าใจเรื่องของการเลี้ยง ไม่รู้ว่าจะให้อะไรเป็นอาหาร ซื้ออาหารเม็ดก็เพิ่มต้นทุน ทำให้ขาดทุน ทำให้เกิดเป็นความคิดที่ว่า “เราต้องเพาะพันธุ์ปลา”เพื่อที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนในเรื่องของลูกพันธุ์ได้ จึงทำมาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ โดยเริ่มเพาะพันธุ์จากลูกปลาตะเพียนยี่สก นวลจันทร์ ปลาจีน ปลานิล ทับทิม และสุดท้ายที่เพิ่งเริ่มเพาะพันธุ์ได้ไม่นานคือ “ปลาช่อน” นั่นเอง
การศึกษาหาข้อมูลจากไหน : ในเรื่องของปลาช่อน คุณสุฑิพงศ์ สินตรีขันธ์ ลูกชายของผู้ใหญ่พร กล่าวว่า ตนมีโอกาสไปส่งปลาทราบว่าเกษตรกรคุยกันเรื่องลูกพันธุ์ปลาช่อนราคาสูง จึงกลับมาหาข้อมูลก็พบว่าราคาดีจริง บวกกับลูกพันธุ์ขาดตลาด จึงไปศึกษาดูว่าที่ไหนพอจะให้ความรู้ได้บ้าง โดยเริ่มเข้าอบรมการเพาะพันธุ์กับประมงบางไทร รุ่น 1จากการนำลูกพันธุ์มาอนุบาลก่อนเพื่อดูว่ารอดหรือไม่ ให้อาหารเม็ดว่ากินไหม พอผ่านกระบวนการเรียนรู้ครบ ก็จะรู้วิธีการทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ทำการทดลองเลี้ยงทั้งหมด 3 รูปแบบ
1.เลี้ยงปลาช่อน ในกระชัง มีข้อดี คือ สามารถลงลูกปลาได้หลายๆ รุ่น เนื่องจากสามารถแยกกระชังได้ ซึ่งลักษณะนิสัยของปลาช่อนจะมีการกินกันเอง หากเกิดการแตกไซส์ แต่มีข้อเสีย คือ ถ้าหากในบ่อมีปลาใหญ่แล้วกะชังรั่ว จะเป็นปัญหาทำให้ลูกปลาหลุดออกไปเป็นเหยื่อของปลาใหญ่
2.เลี้ยงปลาช่อน ในบ่อปูน ข้อดี คือ น้ำจะใสเห็นตัวปลา สามารถรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ดูแลง่าย แต่ข้อเสีย คือ น้ำต้องถ่ายตลอดเวลาเพื่อให้มีการหมุนเวียน ซึ่งไม่เหมือนบ่อใหญ่ที่น้ำมีการไหลเวียนตลอด
3.เลี้ยงปลาช่อน ในบ่อดิน ข้อดี คือ อาหารในธรรมชาติมีมาก ปลาโตเร็ว แต่ปลาช่อนสามารถคุดหนีเวลาพาลออกจากบ่อ เสี่ยงต่อการสูญเสียมาก หากไม่มีระบบการจัดการบ่อที่ดี
พูดถึงการเตรียมบ่อในการเลี้ยงปลาช่อนต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง ?
ขั้นตอนการเตรียมบ่อ ที่ฟาร์มจะเลี้ยงในบ่อดินขนาด 1-1.5 ไร่ แล้วจะเตรียมไรแดงไว้ให้ โดยการทำน้ำเขียวประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงปล่อยลูกปลาลงไป อัตราการปล่อยต่อไร่ในบ่อดิน 2-3 หมื่นตัวต่อไร่ ปลาช่อนจำเป็นต้องคลุมตาข่ายดักนกอย่างดี เพราะปลาช่อนจะมีลักษณะนิสัยลอยอยู่บนผิวน้ำ นกจะเห็นได้ง่าย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก และจะเจออีกหนึ่งปัญหาเมื่อปลาโตแล้ว คือ ตัวเงินตัวทอง เป็นศัตรูตัวฉกาจของบ่อเลี้ยง
หลังจากที่เตรียมบ่อแล้ว ทำยังไงต่อ
การจัดการพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน วิธีคัดพ่อแม่พันธุ์ ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนที่ดี สำคัญที่อายุ จะเลือกตัวที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป จนถึง 1 ปี ถึงปีกว่า และควรเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย หรือเลือกไข่ย้อยๆ ส่วนพ่อพันธุ์จะเลือกตัวที่ลักษณะทรงดี ไม่ควรเลือกปลาลักษณะที่มีรูปร่างอ้วน หรือผอม เกินไป แม่พันธุ์ปลา 1 ตัว จะใช้ประมาณ 3-4 รอบต่อปี ใช้เพียงแค่ประมาณ 1.5-2 ปี
การผสมพันธุ์และการฟักไข่
การผสมพันธุ์และการฟักไข่ โดยการจับคู่ 1:1 ฉีดน้ำเชื้อเข้าไปเพื่อเป็นการเร่งปฏิกิริยาของปลาให้ผสมพันธุ์กัน ระยะเวลาการผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 24 ชม. ปลาก็จะเริ่มวางไข่ เมื่อวางไข่เสร็จเราจะนำลูกปลาไปอนุบาลในกรวยเพาะฟัก
เนื่องจากที่บ่อกรวยเพาะฟักมีระบบน้ำมันหมุนวน แต่ปลาช่อนจะเป็นลักษณะหมุนวนแล้วไม่ต้องใช้ออกซิเจน ใช้น้ำเป็นตัวเติมออกซิเจนให้แทน ซึ่งไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง
การให้อาหารอะไร(ปลาช่อนเป็นสัตว์กินเนื้อ) ให้ยังไง เวลาไหนบ้าง ?
การให้อาหารลูกปลาช่อน
การอนุบาลลูกปลา ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดง สีเหลืองใส ปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2-3วัน จึงพลิกกลับตัวลง และว่ายไปมาตามปกติ โดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว เมื่อถุงไข่แดงยุบก็ฝึกให้อาหารเสริม
ตอนเล็กเราให้กินลูกไรดี พอถึงเวลาเราก็เอาปลาป่นผสมลูกไรลงไป ได้ไซส์ขนาดสักนิ้วครึ่ง ถึงสองนิ้ว เราก็ให้อาหารเม็ดเล็กพิเศษให้ต่อเนื่องไปสัก 3-4 วัน มันก็จะกินทั้งหมด ให้วันละ 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น การให้อาหารจะค่อยๆ หว่าน พอหมดค่อยให้ใหม่ ปลาช่อนต้องการโปรตีน 40%
พอโตแล้วเราให้ปลาช่อนกินอะไร ?
ระยะเวลาของการเพาะเลี้ยง เริ่มจากไข่นำมาฟักในกรวยเพาะฟัก 5-6 วัน ให้ได้ขนาด หลังจากนั้นลงบ่อดินอีก 15-20 วัน แล้วก็นำขึ้นมาให้อาหารเม็ดก็ขายได้แล้ว สำหรับคนที่ต้องการไซส์เล็ก ไซส์ประมาณ 2 นิ้ว ถ้า 3 นิ้ว ต้องอนุบาลต่อจนครบ 1-1.5 เดือน และจะมีอัตรารอดอยู่ที่ 60-70%
ปัญหาในการเลี้ยงปลาช่อนมีอะไรบ้าง + และมีการแก้ไขยังไง ?
วิธีแก้ปัญหาการแตกไซส์
ส่วนวิธีแก้ปัญหาการแตกไซส์ คือ จะซาวตอน 4 เดือน แล้วนำมาคัดไซส์ แล้วแยกบ่อ พอนำไปเลี้ยงต่ออีก 3-4 เดือน ก็จับได้ หรือหากใครที่ต้องการขายไซส์ปลาเค็มก็ใช้เวลา 3-4 เดือน เท่านั้น
โรคของปลาโรคของปลาตอนนี้ยังไม่เจอ แต่ถ้าหากพบก็เตรียมป้องกันไว้แล้ว แต่ที่สำคัญ คือ เรื่องของเสียก้นบ่อ ถ้าเราใส่จุลินทรีย์บำบัดไว้เรื่อยๆ ของเสียไม่ตกค้าง ไม่เน่ามาก เรื่องเชื้อโรคก็ไม่ค่อยมี อีกเรื่องที่สำคัญ คือ เรื่องของการตากบ่อ ต้องตากให้แห้ง โดยใช้ปูนขาวหว่าน เตรียมน้ำ เตรียมบ่อ อีกที
เน้นที่ปลาใหญ่ต้องเอาออกให้หมดบ่อ เรื่องกันนก และปลาใหญ่ ที่จะหลุดลงไปสำคัญ แล้วจะมีปัญหากับตัวเงินตัวทอง และการขึงมุ้งเขียวข้างบ่อรอบๆ ถ้าขึงได้จะดี เลี้ยงปลาช่อน เนื้อต้องมีความสูง 50-80 ซม.
พูดถึงการจำหน่ายลูกพันธุ์ปลาช่อน
ฟาร์มปลาผู้ใหญ่พรมั่นใจได้ว่าเน้นการเพาะพันธุ์ และผลิตลูกปลาที่มีคุณภาพ สุดท้ายนี้ทีมงานต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ผู้ใหญ่พร และ คุณสุฑิพงษ์ ที่ให้ข้อมูล และให้เยี่ยมชมฟาร์ม เกษตรกรท่านใดสนใจลูกพันธุ์ปลาช่อน และปลาชนิดอื่นๆสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสุฑิพงษ์ สินตรีขันธ์ ฟาร์มปลาผู้ใหญ่พร 14 หมู่ 1 ต.มารวิชัย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13110 หรือสามารถโทรสอบถามได้โดยตรงที่ 095-607-5689, 094-006-8548, 087-647-9699
ฝากถึง มุมมองการ เลี้ยงปลาช่อน ในปัจจุบันให้เกษตรกรที่สนใจเลี้ยง ?
คุณสุฑิพงศ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปลาช่อนเป็นปลาพื้นบ้านของไทยมานาน และการทำอาหารก็ต้องมีปลาช่อน ยังไงตลาดก็ไม่น่าเจอทางตัน เพราะเมื่อดูแต่ละร้านอาหารยังไงก็มีเมนูปลาช่อน และราคาค่อนข้างนิ่งพอสมควร ปลาใหญ่ราคากิโลกรัมละ110-130 บาท ซึ่งเป็นไซส์ที่ตลาดต้องการ จะใช้ระยะเวลาเลี้ยง 7 เดือนขึ้นไป มีน้ำหนักต่อตัว 700 กรัม ถึง 1,000 กรัมขึ้นไป