ในอดีตประชากรหรือกบภูเขามีจำนวนมากจัดเป็นอีกเมนูที่ชาวแม่ฮ่องสอนนำมาบริโภคเหมือนอาหารพื้นบ้านทั่วไป อีกทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายตามร้านอาหารหลายแห่งลักษณะเฉพาะของเขียดแลวคือ มีเนื้ออร่อย แน่น ไม่มีไขมัน จนกระทั่งจำนวนลดลงในสภาวะอันตรายถึงขั้นอาจสูญพันธุ์ จนต้องมีการรณรงค์เพื่อหยุดจับเขียดแลว บริโภค
ทางกรมประมง จึงได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยเขียดแลวและประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ปี 2530 กระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตลูกเขียดแลวได้ในปริมาณ 50,000-100,000 ตัว ต่อปี แล้วนำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม
สำหรับการเพาะเลี้ยง-อนุรักษ์เขียดแลวที่ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ดำเนินการด้วยการสร้างอาคารซึ่งภายในจำลองเลียนแบบสภาพทางธรรมชาติให้ใกล้เคียงที่สุด ปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆ จัดทำเป็นลำธาร นำตอไม้หรือท่อนไม้และก้อนหินมาตกแต่งเพื่อเป็นที่หลบตัวของเขียดแลว จัดทำเป็นโครงล้อมด้วยตาข่ายและประตูเปิด-ปิด โดยจำนวนการเลี้ยงที่เหมาะสมให้คัดพ่อ-แม่พันธุ์ จำนวน 200 ตัว (อัตราส่วนเพศผู้-เมีย 1 : 1)
การผสมพันธุ์วางไข่จะเกิดในช่วงกลางคืนจนถึงเช้า โดยตัวผู้จะขุดหลุมแล้วใช้ขาหลังถีบตะกุยกรวดออกเป็นกองในรูปทรงกลม ในบริเวณระดับน้ำลึก 2-5 เซนติเมตร ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แล้วส่งเสียงร้องเพื่อต้องการผสมพันธุ์ เมื่อสิ้นสุดการผสมพันธุ์แล้วทั้งตัวเมียและตัวผู้จะช่วยกันกลบหลุมไข่จนทำให้ก้อนกรวดเป็นกองนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีการวางไข่ในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม จากนั้นนำไข่มาทำความสะอาดด้วยน้ำ แล้วนำไปฟักในถาดฟัก ใช้เวลาฟักประมาณ 5-7 วัน จนได้เป็นลูกอ๊อดแล้วจึงนำไปอนุบาล
ในช่วงอนุบาลใช้บ่อปูนที่ใส่น้ำไว้ 10-15 เซนติเมตร ติดตั้งระบบลมพร้อมถ่ายน้ำและตะกอนในทุก 2-3 วัน ให้อาหารผงผสมน้ำแล้วปั้นเป็นก้อนให้ลูกอ๊อดกินทุกวันในช่วง 50-60 วัน จนมีพัฒนาการเป็นลูกกบที่พร้อมขึ้นฝั่ง โดยในช่วงนี้ถือเป็นช่วงอ่อนแอที่สุด จึงจำเป็นต้องพ่นละอองน้ำเพื่อให้ลูกกบได้รับความชื้นตลอดเวลาช่วยให้มีความแข็งแรง โดยอาหารในช่วงลูกกบ ได้แก่ หนอนนกขนาดเล็กหรือปลวก
ช่วงกบโต จะเลี้ยงในบ่อปูนโดยจะต้องทำความสะอาดแล้วตากบ่อให้แห้งก่อนปล่อย จัดสภาพภายในบ่อตลอดจนในโรงเลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติด้วยการใช้ต้นไม้แล้วสร้างเป็นลำธารที่มีน้ำไหลตลอดเวลา ทั้งนี้ ในช่วงฤดูร้อนจะต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยการพ่นไอหมอกตลอดเวลาการเลี้ยงประมาณ 15 เดือน ทั้งนี้ เขียดแลวจะมีอัตรารอดประมาณกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 30-37 กรัม มีความยาวเฉลี่ย 10 เซนติเมตร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กำหนดเป้าหมายการเพาะ-ขยายพันธุ์เขียดแลวไว้ 2 แนวทาง คือ
- เพื่อปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ต่อจากนั้นให้เขียดแลวที่ปล่อยมีการขยายพันธุ์ทางธรรมชาติต่อไป
- เพื่อร่วมกับการทำงานในเชิงวิจัยปรับปรุงพันธุ์ โดยในอนาคตอาจให้ชาวบ้านนำเขียดแลวที่ปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์แล้วไปเพาะ-เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป
เนื่องจากเนื้อเขียดแลวมีลักษณะเป็นลิ่ม รสชาติดี กระดูกอ่อน เหมาะกับการแปรรูปเป็นอาหารได้หลายเมนู อาทิ กบทอดกระเทียม ผัดเผ็ด ต้มยำ ฯลฯ
นอกจากนั้น ผอ.ศูนย์ ยังมองว่า เขียดแลวที่เพาะ-ขยายเพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับชาวแม่ฮ่องสอนที่เคยกินกันอยู่เป็นประจำมานาน อีกทั้งยังต้องการสร้างเอกลักษณ์ของเขียดแลวในฐานะสัตว์ประจำถิ่นด้วยการเซ็ตเมนูอาหารที่โดดเด่นพร้อมโปรโมตให้เป็นเมนูเด่นของจังหวัด หวังให้ผู้ที่จะเดินทางมาเที่ยวแม่ฮ่องสอนได้บริโภคเมนูพิเศษนี้เพียงแห่งเดียว ร่วมกับเมนูปลาแม่น้ำปายที่มีรสอร่อยอีกหลายชนิด แล้วยังเป็นช่องทางอาชีพเสริมรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอนอีก
สอบถามข้อมูลเรื่อง เขียดแลว หรือปลาประจำถิ่นแม่ฮ่องสอน หรือสนใจเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ เรื่องสัตว์น้ำจืด ติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ (053) 684-194
ในอดีตประชากรเขียดแลวหรือกบภูเขามีจำนวนมากจัดเป็นอีกเมนูที่ชาวแม่ฮ่องสอนนำมาบริโภคเหมือนอาหารพื้นบ้านทั่วไป อีกทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายตามร้านอาหารหลายแห่งลักษณะเฉพาะของเขียดแลวคือ มีเนื้ออร่อย แน่น ไม่มีไขมัน จนกระทั่งจำนวนลดลงในสภาวะอันตรายถึงขั้นอาจสูญพันธุ์ จนต้องมีการรณรงค์เพื่อหยุดจับเขียดแลว บริโภค
ทางกรมประมง จึงได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยเขียดแลวและประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ปี 2530 กระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตลูกเขียดแลวได้ในปริมาณ 50,000-100,000 ตัว ต่อปี แล้วนำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม
สำหรับการเพาะเลี้ยง-อนุรักษ์เขียดแลวที่ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ดำเนินการด้วยการสร้างอาคารซึ่งภายในจำลองเลียนแบบสภาพทางธรรมชาติให้ใกล้เคียงที่สุด ปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆ จัดทำเป็นลำธาร นำตอไม้หรือท่อนไม้และก้อนหินมาตกแต่งเพื่อเป็นที่หลบตัวของเขียดแลว จัดทำเป็นโครงล้อมด้วยตาข่ายและประตูเปิด-ปิด โดยจำนวนการเลี้ยงที่เหมาะสมให้คัดพ่อ-แม่พันธุ์ จำนวน 200 ตัว (อัตราส่วนเพศผู้-เมีย 1 : 1)
การผสมพันธุ์วางไข่จะเกิดในช่วงกลางคืนจนถึงเช้า โดยตัวผู้จะขุดหลุมแล้วใช้ขาหลังถีบตะกุยกรวดออกเป็นกองในรูปทรงกลม ในบริเวณระดับน้ำลึก 2-5 เซนติเมตร ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แล้วส่งเสียงร้องเพื่อต้องการผสมพันธุ์ เมื่อสิ้นสุดการผสมพันธุ์แล้วทั้งตัวเมียและตัวผู้จะช่วยกันกลบหลุมไข่จนทำให้ก้อนกรวดเป็นกองนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีการวางไข่ในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม จากนั้นนำไข่มาทำความสะอาดด้วยน้ำ แล้วนำไปฟักในถาดฟัก ใช้เวลาฟักประมาณ 5-7 วัน จนได้เป็นลูกอ๊อดแล้วจึงนำไปอนุบาล
ในช่วงอนุบาลใช้บ่อปูนที่ใส่น้ำไว้ 10-15 เซนติเมตร ติดตั้งระบบลมพร้อมถ่ายน้ำและตะกอนในทุก 2-3 วัน ให้อาหารผงผสมน้ำแล้วปั้นเป็นก้อนให้ลูกอ๊อดกินทุกวันในช่วง 50-60 วัน จนมีพัฒนาการเป็นลูกกบที่พร้อมขึ้นฝั่ง โดยในช่วงนี้ถือเป็นช่วงอ่อนแอที่สุด จึงจำเป็นต้องพ่นละอองน้ำเพื่อให้ลูกกบได้รับความชื้นตลอดเวลาช่วยให้มีความแข็งแรง โดยอาหารในช่วงลูกกบ ได้แก่ หนอนนกขนาดเล็กหรือปลวก
ช่วงกบโต จะเลี้ยงในบ่อปูนโดยจะต้องทำความสะอาดแล้วตากบ่อให้แห้งก่อนปล่อย จัดสภาพภายในบ่อตลอดจนในโรงเลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติด้วยการใช้ต้นไม้แล้วสร้างเป็นลำธารที่มีน้ำไหลตลอดเวลา ทั้งนี้ ในช่วงฤดูร้อนจะต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยการพ่นไอหมอกตลอดเวลาการเลี้ยงประมาณ 15 เดือน ทั้งนี้ เขียดแลวจะมีอัตรารอดประมาณกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 30-37 กรัม มีความยาวเฉลี่ย 10 เซนติเมตร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กำหนดเป้าหมายการเพาะ-ขยายพันธุ์เขียดแลวไว้ 2 แนวทาง คือ
- เพื่อปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ต่อจากนั้นให้เขียดแลวที่ปล่อยมีการขยายพันธุ์ทางธรรมชาติต่อไป
- เพื่อร่วมกับการทำงานในเชิงวิจัยปรับปรุงพันธุ์ โดยในอนาคตอาจให้ชาวบ้านนำเขียดแลวที่ปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์แล้วไปเพาะ-เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป
เนื่องจากเนื้อเขียดแลวมีลักษณะเป็นลิ่ม รสชาติดี กระดูกอ่อน เหมาะกับการแปรรูปเป็นอาหารได้หลายเมนู อาทิ กบทอดกระเทียม ผัดเผ็ด ต้มยำ ฯลฯ
นอกจากนั้น ผอ.ศูนย์ ยังมองว่า เขียดแลวที่เพาะ-ขยายเพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับชาวแม่ฮ่องสอนที่เคยกินกันอยู่เป็นประจำมานาน อีกทั้งยังต้องการสร้างเอกลักษณ์ของเขียดแลวในฐานะสัตว์ประจำถิ่นด้วยการเซ็ตเมนูอาหารที่โดดเด่นพร้อมโปรโมตให้เป็นเมนูเด่นของจังหวัด หวังให้ผู้ที่จะเดินทางมาเที่ยวแม่ฮ่องสอนได้บริโภคเมนูพิเศษนี้เพียงแห่งเดียว ร่วมกับเมนูปลาแม่น้ำปายที่มีรสอร่อยอีกหลายชนิด แล้วยังเป็นช่องทางอาชีพเสริมรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอนอีก
สอบถามข้อมูลเรื่อง เขียดแลว หรือปลาประจำถิ่นแม่ฮ่องสอน หรือสนใจเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ เรื่องสัตว์น้ำจืด ติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ (053) 684-194