สุพรรณบุรีได้ชื่อว่าเป็นเมืองของชาวนา เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย ซึ่งเกษตรกรตัวจริงที่ประสบความสำเร็จอีกหนึ่งคนก็อยู่ที่นี่ “น้าละเอียด แดงแตง” วัย 65 ปี เกษตรกรแห่งบ้านศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เริ่มอาชีพชาวนาตั้งแต่ต้นตะกูล จากรุ่นปู่ย่าตายาย มาถึงพ่อแม่ จนถึงรุ่นของน้าละเอียด ดังนั้น ประสบการณ์การทำนาจึงมากกว่า 50 ปี
บนผืนนาแปลงใหญ่ที่สืบทอดการทำนามาจากบรรพบุรุษกว่า 60 ไร่ น้าละเอียดให้ความใส่ใจในทุกขั้นตอนของการทำนา ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เพาะข้าว การกำจัดวัชพืชและป้องกันแมลง และการเลือกใช้ปุ๋ยบำรุงดินให้เหมาะกับความต้องการของข้าว บวกกับการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ จากรุ่นลูก จึงมีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่นรถอเนกประสงค์มาใช้ทำนา ทั้งหว่านข้าว ใส่ปุ๋ย รวมถึงควบคุมหญ้าและแมลง ปรับปรุงและพัฒนาการทำนาดั้งเดิม จนได้ผลผลิตเป็นกอบเป็นกำ ไร่ละ 1 ตัน!
น้าละเอียดเผย 3 เทคนิคการทำนาให้ได้ผลผลิตดี เริ่มตั้งแต่ การเตรียมดิน การคัดเลือกพันธุ์ข้าว และการบำรุงดิน ซึ่งทุกขั้นตอนต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
1.การเตรียมดิน น้าละเอียดบอกว่าก่อนปลูกข้าวทุกครั้งการเตรียมดินมีความสำคัญมาก หากปลูกข้าวโดยไม่บำรุงดินเสียเลย ข้าวจะไม่งามดั่งใจ ถ้าเตรียมดินดี ผลผลิตก็จะดีตาม โดยขั้นตอนการบำรุงดินของเกษตรกรวัยเก๋าเริ่มจากการเอาน้ำลงแปลงปลูกเพื่อให้ดินชุ่มชื้น แล้วใช้รถปั่นดิน (หรือที่เรียกว่า ขลุกดิน) เพื่อให้ดินละเอียด พร้อมทั้งฝังกลบวัชพืชด้วย นอกจากนี้ น้าละเอียดจะใส่ปุ๋ยหมักที่ทำเอง โดยใช้ขี้วัวผสมกับแกลบที่ได้จากการสีข้าวผสมลงไปในดินด้วย จะช่วยให้สภาพดินในแปลงมีธาตุอาหารสมบูรณ์พร้อมที่จะทำการเพาะปลูก หลังจากขลุกดินแล้ว จะใช้รถเทือกตีดินให้ดินเรียบเสมอกัน ชักร่องเพื่อระบายน้ำออก (ตีเส้นในร่อง) แล้วหว่านเมล็ดข้าวได้
- การเลือกพันธุ์ข้าวก็สำคัญเนื่องจากตำบลศาลาขาวอยู่ในเขตชลประทานมีน้ำใช้ตลอดปี น้าละเอียดจึงใส่ใจเรื่องการเลือกพันธุ์ข้าวเป็นพิเศษ โดยหนึ่งปีจะทำนาทั้งหมด 3 รอบ คือทำนาปี 1 รอบ ระยะปลูก 120 วัน ใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านซึ่งมีน้ำหนักดีและทนต่อสภาพอากาศ เพราะการทำนาปีต้องอาศัยน้ำฝน ทำให้การเลือกเม็ดพันธุ์ต้องเป็นพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศ
ส่วนการทำนาปรังอีก 2 รอบ น้าละเอียดเลือกใช้พันธุ์ข้าว กข. ซึ่งให้ผลผลิตมากและใช้ระยะเวลาในการปลูกเพียง 90 วัน และไม่ต้องห่วงว่าข้าวจะขาดน้ำเนื่องจากที่นาได้รับน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ตลอดทั้งปี
- การบำรุงดินเพราะทำนามาหลายรุ่นทำให้ธาตุอาหารในดินลดลง ไม่ได้พักดิน ดังนั้น น้าละเอียดจึงใส่ใจเรื่องการบำรุงดินโดยการเพิ่มธาตุอาหารให้ดินด้วยการใส่ปุ๋ยตรากระต่าย น้าละเอียดบอกว่า การเลือกปุ๋ย ต้องเลือกจากคุณภาพ
“สิ่งสำคัญคือการเลือกปุ๋ยที่มีคุณภาพ ผมไม่เคยเปลี่ยนใจจากปุ๋ยตรากระต่ายเลย ใช้มาเป็นสิบๆ ปี เพราะคุณภาพดี ข้าวได้น้ำหนัก ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ผมแนะนำให้ลูกๆ และเพื่อนเกษตรกรใช้ด้วย เพราะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นจริง” น้าละเอียดยืนยัน พร้อมแชร์เทคนิคการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตจะเลือกใส่ปุ๋ยตามช่วงอายุของข้าว ดังนี้
- เมื่อข้าวอายุได้ 25-30 วันน้าละเอียดจะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 โดยใช้ประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อบำรุงต้นข้าวให้แข็งแรง
- เมื่อข้าวอายุ 45-50 วันจะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-20-0 ในปริมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อได้ข้าวเต็มเม็ด เต็มรวง
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาใส่ปุ๋ยก็สำคัญ น้าละเอียดแนะนำว่า ในช่วงหน้าฝนที่อากาศมีความชื้น จะใส่ปุ๋ยช่วงสายๆ หรือบ่ายของวัน เพื่อให้แดดไล่ความชื้นออกไปให้หมดก่อน เพราะถ้าใส่ปุ๋ยตอนต้นข้าวมีความชื้นอาจทำให้เกิดโรคได้
ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม ป้องกันและกำจัดวัชพืช-แมลง
นอกจากการเตรียมดินที่ดีแล้ว การป้องกันและกำจัดวัชพืช-แมลงก็สำคัญมากสำหรับเกษตรกร น้าละเอียดให้ความสำคัญกับการป้องกันและกำจัดวัชพืชโดยการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมนั่นก็คือ การดูนกเพื่อดูว่าพื้นที่ไหนมีแมลง โดยสังเกตจากชนิดของนกที่มาลงนา เช่น ถ้าเห็นนกนางแอ่นบินลงนาบ่อยๆ แสดงว่าช่วงนั้นมีเพลี้ยกระโดดลง แต่ถ้าเป็นนกกระยางลงนาบ่อยๆ แสดงว่าในนามีหนอนมาก ซึ่งการเป็นคนสังเกตแบบนี้ทำให้น้าละเอียดแก้ปัญหาได้ทันท่วงที โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วย เช่น นำรถอเนกประสงค์เข้าช่วยฉีดสารควบคุม หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแบบมือตัดหญ้าที่ขึ้นรกและสูงตามคันนา เพราะนั่นคือที่อยู่ของหนอนและแมลง
นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำวิธีควบคุมวัชพืชในนาข้าว โดยหลังจากใช้ยาคุมหญ้าในนาข้าวแล้ว 2 วันต่อมา ต้องปล่อยน้ำลงนาทันที ซึ่งต้องทำให้ตรงเวลา เพื่อให้หญ้าที่ขึ้นมาเจอน้ำก็จะตาย แต่ถ้าปล่อยน้ำช้า หญ้าจะโตทันข้าว และมาแย่งสารอาหาร ข้าวก็จะให้ผลผลิตน้อย
น้าละเอียดเผยหัวใจของการปลูกข้าว ก็คือ ‘ความซื่อสัตย์’ ต่อผืนดินและท้องนา คือให้ความจริงใจต่อข้าว ต่อผืนนา เมื่อถึงเวลาต้องทำทันที ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ทอดทิ้งนา รวมถึงการใส่ปุ๋ย การปล่อยน้ำเข้านา เฝ้านา ดูว่าเวลาไหนต้องปล่อยน้ำเข้านา อีกทั้งซื่อสัตย์ต่อตัวเองด้วย ต้องช่างสังเกต และเอาใจใส่นา
“ช่วงที่ปล่อยน้ำลงนาเพื่อกำจัดหญ้า ผมจะไม่ไปไหนเลย ใครมาชวนไปไหนก็จะไม่ไป ต้องรอใส่น้ำลงนาก่อน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง นี่คือความซื่อสัตย์ต่อข้าว ต่อนา ที่ผมทำมาตลอด” น้าละเอียด ย้ำภารกิจสำคัญ
ใช้เครื่องจักรช่วยทำนา ประหยัดเวลา-ลดต้นทุน
วิธีการทำนาที่สืบทอดจากคนรุ่นพ่อแม่ คือความอดทน ความขยัน ความซื่อสัตย์ เมื่อบวกรวมกับแนวคิดการจัดการพื้นที่ทั้งหมดกว่า 60 ไร่ในปัจจุบันของน้าละเอียดที่เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ จากคำแนะนำของลูกๆ โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยทำนา นั่นก็คือรถอเนกประสงค์ ที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ช่วยหว่านข้าว ใส่ปุ๋ย รวมถึงเข้าพื้นที่ฉีดสารควบคุมหญ้าและแมลง นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาเพิ่มรายได้จากการรับจ้างในไร่ในนาของเพื่อนบ้านได้อีกด้วย
เมื่อถามว่า เพราะเหตุใดจึงเปิดใจและลงทุนนำรถอเนกประสงค์เข้ามาช่วยทำนา ก็ได้คำตอบว่า ได้รับคำแนะนำจากลูกๆ ให้ใช้รถเอนกประสงค์มาปรับใช้กับการเกษตรของครอบครัว ซึ่งเมื่อเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา ได้ทดลองใช้จริงก็พบว่ารถอเนกประสงค์ช่วยให้ประหยัดเวลา ช่วยลดต้นทุนเรื่องแรงงานได้
น้าละเอียดเป็นตัวอย่างของเกษตรกรรุ่นเก๋าที่ความคิดไม่เคยเก่า พร้อมปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ยังคงรักษามาตรฐานการทำนาแบบดั้งเดิมไว้ได้ครบถ้วน ส่งต่อความอดทน ความขยัน ความซื่อสัตย์ จากบรรพบุรุษ มาสู่เกษตรกรรุ่นลูกได้อย่างไร้ที่