กลางเดือนพฤษภาคมก็เข้าสู่หน้าฝนอย่างเต็มตัวแล้ว แน่นอนว่านอกจากความชุ่มฉ่ำก็ยังมีโรคที่มาพร้อมกับฝนให้เกษตรกรอย่างเราปวดหัว
หรือโรคใบลาย เป็นโรคที่สามารถเข้าไปทำลายได้ตั้งแต่เป็นต้นกล้าจนถึงออกดอก โดยสาเหตุเกิดมาจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ที่อาจะมากับใบของพืชที่ติดโรคแล้วแพร่ไปสู่ต้นอื่น เมล็ดปลูกจากต้นที่เป็นโรค หรือจากพืชบางชนิดอย่าง ข้าวฟ่าง หญ้าพง หรือหญ้าคาหลวง หรือเชื้อราที่ตกค้างอยู่ในดิน
ลักษณะอาการของโรคราน้ำค้าง
- ระยะแรก จะเกิดจุดสีขาวหรือเหลืองอ่อนบริเวณใบจากนั้นจะขยายไปเป็นทางสีขาวไปถึงฐานใบ
- ระยะที่สอง ในใบที่ออกมาใหม่จะมีทางสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนจากฐานใบถึงปลายใบ และจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันและกำจัด
- หลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงฝนตกชุกหรือหน้าฝน โดยในพืชที่มีอายุมากกว่า 1 เดือน พบว่ามีอัตราการเกิดโรคน้อยกว่าที่เป็นต้นกล้าพึ่งเพาะพันธุ์
- กำจัดพืชอาศัย เพื่อลดการข้ามฤดูของเชื้อ
- ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรค
- การคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำสมควันไม้ก่อนปลูก
- ฉีดน้ำล้างใบ และรดน้ำพืชทุกเช้าหรือหลังหมอกลงจัด
การเตรียมพื้นที่ ดินดี แปลงดี และมรการจัดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกการป้องกันที่ทำให้พืชของเราเติบโต และได้ผลผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) http://www.arda.or.th/kasetdata.php