“เอฟเอโอ( FAO )แจ้งเตือนภัยตั๊กแตน ระบาดร้ายแรงสุดในรอบ 25 ปี ในแอฟริกา กำลังแพร่ระบาดเข้าตะวันออกกลางและอินเดีย” การระบาดของฝูงตั๊กแตนเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
พี่น้องเกษตกรที่มีศัตรูเป็นเจ้าปีกลายพวกนี้ โปรดติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 FAO แถลงข้อมูลสถานการณ์การระบาดของตั๊กแตนทะเลทราย (Desert Locus)ในแอฟริกา ซึ่งกำลังกำลังแพร่ระบาดเข้ตะวันออกกลางและอินเดีย
การระบาดของฝูงตั๊กแตนเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของตั๊กแตน ทำให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี
ซึ่งขณะนี้พบการระบาดของฝูงตั๊กแตนใน 13 ประเทศ ได้แก่ เคนยา เอธิโอเปีย เอริเทรีย โซมาเลีย ซูดานใต้ อูกันดา จิบูตี เยเมน โอมาน ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อินเดีย และปากีสถาน
ฝูงตั๊กแตนทะเลทรายนับพันล้านสร้างความเสียหายให้ผลผลิตการเกษตรอย่างรุนแรงและรวดเร็ว อีกทั้งกระทบต่อการดำรงชิวิตของคนในท้องที่ ฝูงตั๊กแตนมีขนาดใหญ่เท่ากับกรุงโรม และภายในวันเดียวสามารถกัดกินอาหารมากเท่ากับการบริโภคอาหารของประชากรทั้งประเทศเคนยาในหนึ่งวัน การแพร่ระบาดของฝูงตั๊กแตนในครั้งนี้ก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นทางอาหารอย่างร้ายแรง ทางแก้ปัญหาที่ได้ผลมากที่สุดในตอนนี้คือการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงทางอากาศซึ่งต้องใช้เงินทุนในการดำเนินการจำนวนมาก เอฟเอโอกำลังระดมทุนกว่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบภัยจากการคุกคามของฝูงตั๊กแตนอย่างร้ายแรง คือ เอธิโอเปีย เคนยา และโซมาเลีย
ทั้งนี้ สามารถติดตามรายงานสถานการณ์การระบาดของตั๊กแตน (Desert Locust Situation)
ได้ที่ FAO Locust Watch: http://www.fao.org/ag/locusts/en/info/info/index.html
*******
ข้อมูล: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโรม