“เลี้ยงปลาบู่” ในบ่อปูน สร้างรายได้ โลละ 500 บาท


เกษตรสัญจรจะพาไปรู้จักกับ คุณธงชัย ศีลอุดม ฉายา “จอมยุทธ์พเนจร” เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาบู่ขาย สร้างรายได้ มามากกว่า 10 ปี โดยหาวิธีเลี้ยงปลาบู่เองและศึกษาหาข้อมูลด้วยตัวเอง
ลักษณะของปลาบู่
ปลาบู่ เป็นปลาน้ำจืด และเป็นสัตว์เศรษฐกิจของไทยด้วย เป็นสินค้าส่งออก ทำรายได้เยอะมากในประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งมีความนิยมในการบริโภคปลาบู่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
สมัยก่อนจะนิยมเลี้ยงปลาบู่ในเขตลุ่มแม่น้ำ ทางภาคกลางด้วยกระชัง แม่น้ำสายหลักที่มีการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง คือ แม่น้ำน่านและแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งที่ใหญ่ที่สุดคือ อุทัยธานี นครสวรรค์และปทุมธานี จะมีวิธีการเพาะพันธุ์ 2 วิธี คือ ฉีดฮอร์โมน และเลียนแบบธรรมชาติ
“ปลาบู่ทราย” ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ นิยมนำมาทำเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อปลาหวาน ตัวหนา เนื้อขาวสวย และเนื้อแน่น รสชาติอร่อย และสามารถจำหน่ายได้ราคาสูง


ปลาบู่เลี้ยงยากไหม ?


คุณธงชัยเล่าว่า ใครบอกว่าปลาบู่เลี้ยงยากคุณธงชัยไม่เคยเชื่อเลย นอกจากเราต้องศึกษาเอง หาความรู้เองก่อน ย้อนกลับไปก่อนที่คุณธงชัยจะเป็นจอมยุทธ์เรื่องกุ้งกุลา คนแถบเอเชีย ใต้หวันและไทยก็เก่ง ทั้งที่ต่างชาติเลี้ยงไม่ได้
ปลาบู่บางส่วนที่คุณธงชัยนำมาเลี้ยง ส่วนใหญ่เอามาจากธรรมชาติ และหาซื้อจากแหล่งเพาะพันธ์ขนาดใหญ่ซึ่งที่แหล่งนี้มีการเพาะเลี้ยงปลาบู่มากถึง 100,000 ตัว และคุณธงชัยเริ่มซื้อมา 3,000 ตัว เฉลี่ยราคาตัวละ 1 บาท ขนาดความยาว 1 นิ้ว และนำมาเลี้ยงในบ่อปูน ใส่แพลงตอนให้กิน ใช้เวลาการเลี้ยงประมาณ 3 – 5 ปี นอกจากแพลงตอนแล้วบางครั้งคุณธงชัยก็เลี้ยงด้วยเนื้อปลาสดด้วย
ปลาบู่จะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่มากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม แต่ปลาบู่สามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี ปีละประมาณ 3 ครั้ง
นิสัยของปลาบู่


ปลาบู่เป็นปลานักล่า หากินทั้งกลางวันกลางคืนเหมือนปลาคราฟ เพราะฉะนั้นปลาบู่จะโตไว ให้สังเกตุจากบ่อที่ใช้เลี้ยง ถ้าสีน้ำเปลี่ยน ปลาบู่จะโตเร็วแน่นอน หากมีลูกกุ้งให้ปลาบู่กิน ปลาบู่จะสามารถสร้างไข่ได้อีก ซึ่งสามารถทำเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาบู่ได้เลย
วิธีการดูแลปลาบู่
วิธีการเลี้ยงปลาบู่ของคุณธงชัย จะเลี้ยงแบบไม่รบกวนปลา เพราะปลาบู่ไม่ชอบคน หากมีอะไรมารบกวน ปลาจะไม่กินอาหาร ปกติจะมีบ่ออยู่ เพราะเคยเป็นฟาร์มใหญ่ สามารถนำบ่อเก่ามาใช้ประโยชน์ นำมาเลี้ยงปลาบู่ ใช้เครื่องให้ลม ให้อากาศ เพราะหากเลี้ยงในที่ร่มจะไม่มีแพลงตอน ให้ทำบ่อปูนซีเมนต์เป็นกระชัง สีน้ำจะเปลี่ยนเอง แยกกระชังไว้เป็นส่วนๆ เพื่อไม่ให้ปลาเห็นกัน จะทำให้โตไวมาก สามาถให้น้ำหนัก 1 ขีดต่อเดือน


บริเวณบ่อที่เลี้ยงปลาบู่ ต้องลดแสงและกันแสงเข้า พยายามให้มีแสงน้อยลง เพราะจะทำให้ปลาเครียด ปัจจุบันคุณธงชัยใช้วิธีเลี้ยงสูตรใหม่ โดยการควบคุมแสงตลอด เพื่อให้ปลามากินอาหารเมื่อไหร่ก็ได้ ปลาจะได้ไม่ตื่น จะฝึกปลาง่าย และเลี้ยงน้ำไม่ลึก น้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาบู่ จะมีความยาว 2.40 เมตร และกว้าง 1.50 เมตร ขนาดกว้างกว่าไม้อัด 30 เซนติเมตร


การขยายพันธุ์ปลาบู่


ตามธรรมชาติของปลาปกติจะมีการวางไข่อยู่แล้ว คุณธงชัยไม่ได้ใช้การเร่งฮอร์โมน เพราะลักษณะปลาคล้ายกัน เพศของปลาบู่จะแยกยาก ตัวผู้ตัวเมียจะคล้ายกันมาก หากไปเร่งฮอร์โมนให้ตัวเมีย แม่ปลาอาจจะตายได้ ให้ใช้หลักการเลี้ยงปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ แต่ให้เน้นไปที่การเลี้ยงด้วยอาหารแทน หากจะแยกเพศสามารถจับหงายดูใต้ท้องปลา จะมีความแตกต่างกันที่อวัยวะเพศ ตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งขนาดเล็ก ปลายแหลมยื่นออกมาบริเวณท้อง ยื่นไปทางโคนหาง ส่วนตัวเมียจะมีตุ่มเนื้อที่ใหญ่กว่า ไม่มีติ่งยื่น ตรงกลางเป็นรูขนาดใหญ่สำหรับวางไข่
ทำไมคนไทยถึงไม่นิยมกินปลาบู่ ?


สาเหตุที่คนไทยจะไม่นิยมกินปลาบู่ เพราะความเชื่อตามวรรณคดีส่วนนึง และปลาบู่มีลักษณะกระดูกคล้ายกระดูกคน คนไทยจึงไม่ค่อยนิยมรับประทาน
ความต้องการของตลาดปลาบู่
ตอนนี้ปลาบู่เป็นที่ต้องการของตลาดสูงมาก ส่วนมากพ่อค้าจะให้ราคาต่ำ ราคารับซื้อกิโลละ 300 บาท และนำไปขายต่อกิโลละ 400 – 450 บาท แต่หากเป็นประเทศจีน ขายกิโลละ 2,000 บาท คุณธงชัยจำหน่ายปลาบู่โดยส่งปลาบู่ไปขายผ่านโบรกเกอร์ที่หาดใหญ่และส่งขายเข้าประเทศสิงคโปร์


ฝากถึงคนที่อยากลองเลี้ยงปลาบู่?
เกษตรกรท่านไหน ที่สนใจเลี้ยงปลาบู่แนะนำให้ศึกษาหาความรู้ในการเลี้ยงปลาบู่ให้เข้าใจก่อนลงมือทำ เนื่องจากปลาบู่เป็นสัตว์ที่ชอบความสันโดษ หากถูกรบกวนปลาบู่จะไม่กินอาหาร ทำให้ปลาบู่โตช้าได้ครับ
………………………………………
เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกษตรเพิ่มเติมได้ที่ :
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: เกษตรสัญจร
𝗟𝗜𝗡𝗘 𝗢𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗮𝗹: @kasetsanjorn
𝗕𝗹𝗼𝗰𝗸𝗱𝗶𝘁: blockdit.com/kasetsanjorn/
𝗬𝗼𝘂𝗧𝘂𝗯𝗲: youtube.com/c/Kasetsanjorn
𝗧𝗶𝗸𝗧𝗼𝗸: tiktok.com/@kasetsanjorn
𝗧𝘄𝗶𝘁𝘁𝗲𝗿: twitter.com/kasetsanjorn/
𝗪𝗲𝗯𝘀𝗶𝘁𝗲: kasetsanjorn.com