พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย เจ้าอาวาทวัดป่านาคำ พระนักพัฒนาที่ช่วยปลดหนี้เปลี่ยนชีวิตเกษตรกร
โดยการน้อมนำเอาศาสตร์พระราชา เรื่องเศษฐกิจพอเพียง มาสอนให้กับชาวบ้านให้เข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วัดป่านาคำ และได้นำเอาเครื่องมือที่มีชื่อว่า หลุมพอเพียง มาใช้ในการทำการเกษตรแบบพอเพียง 1 ไร่ไม่ยากไม่จน ประสบผลสำเร็จอย่างงามขณะนี้ได้ขยายผลไปยังชุมชนและสถานศึกษาอื่น ๆ
เห็นชาวบ้านทุกข์จากระบบทุมนิยม เป็นหนี้ ครอบครัวแตกแยก พยายามเทศน์สอนธรรมะเรื่องตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่เมื่อชาวบ้านกลับบ้านไปก็ไม่สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดผลหรือแก้ปัญหาเองได้
อยากสอนธรรมะแบบที่เป็นรูปธรรม สามารถเกิดผลและแก้ไขปัญหาของชาวบ้านได้จริง พยายามหามาหลายศาสตร์แต่ไม่มีศาสตร์ไหนตอบโจทย์ มีเพียงแต่ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ได้จริง ศาสตร์พระราชาจึงเป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก เพราะทางรอดนั้นมีเพียงทางเดียวเท่านั้น จากนั้นก็ศึกษาความรู้จากคนรอบตัว ความรู้ที่สำคัญคือความรู้ในตัวของชาวบ้านเอง แต่ว่าชาวบ้านเขาไม่รู้ตัว อย่างเช่นความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยจากมูลของสัตว์ ชาวบ้านรู้แต่ไม่ได้นำมาใช้ ไม่รู้ว่านั้นคือวิธีทำปุ๋ยชีวภาพ รวมไปถึงแสวงหาความรู้โดยการไปศึกษาดูงานตามศูนย์พัฒนาต่าง ๆที่มีโอกาส เช่น ศูนย์พัฒนาเขาหินซ้อน และเรียนรู้จากการศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านภายในพื้นที่
บางคนเขาไม่เข้าใจว่าทำไมพระมายุ่งเรื่องการปลูกต้นไม้ การเกษตร จริง ๆ แล้วหน้าที่ของพระคือสอนคนให้ไม่มีทุกข์นี้ก็คืออีกวิธีหนึ่งในการสอนธรรมะ ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้ศึกษาธรรมะ มีโอกาสได้ช่วยเหลือผู้อื่น ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย ได้ศึกษาศาสตร์พระราชา ศาสตร์ที่เป็นทางรอดที่แท้จริงเพียงศาสตร์เดียว ภูมิใจที่ได้บวชเป็นพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ ได้มีอิสระในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มที่ไม่คิดเรื่องของทางโลก
เทคนิคการทำหลุมพอเพียง
- ขนาดหลุมพอเพียงควรมีขนาดกว้าง 80 – 100 เซนติเมตรลึกประมาณ 30 เซนติเมตร
ระยะห่างระหว่างหลุม 4 x 4 เมตร ถ้ามีพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 100 หลุม
- พืชที่ปลูกตามแนวทางของพระอาจารย์ 1 หลุมพอเพียง ประกอบด้วยพืช 4 ประดภท
– พืชพี่เลี้ยง เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เก็บน้ำ เก็บความชื้นโดยเฉพาะช่วงร้อนหรือหน้าแล้ง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ควรปลูกทางทิศตะวันตก เพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดดจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี ก็ตัดทิ้ง ปล่อยหน่อใหม่ให้ทำงาน
– พืชยืนต้น ประกอบด้วย ขนุน มะม่วง มะนาว กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา เป็นต้น ในหลุมหนึ่งควรเลือกปลูกแค่ประเภทเดียว
– พืชฉลาด เป็นไม้ข้ามปี ที่สามารถเอาตัวรอดได้ดี เก็บผลได้นานพอสมควร เช่น ชะอม ผักหวาน มะละกอ ผักติ้ว ผักเม็ก เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 1 เดือนไปเรื่อย ๆ
– พืชปัญญาอ่อน หรือ ไม้รายวัน เป็นไม้ล้มลุกปลูกง่าย ตายเร็ว ต้องคอยปลูกใหม่ ดูแลรดน้ำทุกวัน แต่เก็บผลได้เร็ว ได้ทุกวัน เช่น พริก มะเขือ กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ข่า ฟักทอง แตงไทย แตงกวา ผักบุ้งจีน คะน้า เป็นต้น เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 15 วัน
วิธีการทำหลุมพอเพียง
- ขุดหลุมขนาดกว้าง 80 – 100 เซนติเมตรลึกประมาณ 30 เซนติเมตรลักษณะเป็นวงกลมหรือสี่เหลี่ยม
- ปลูกหญ้าแฝกล้อมรอบหลุม รากแฝกจะสาน เป็นร่างแหในแนวดิ่ง ช่วยยึดดินให้คงรูป เปรียบเสมือนกระถางธรรมชาติ
- ปลูกพืชทั้ง 4 ประเภท
การปลูกพืชแบบหลุมพอเพียงนี้ สามารถให้ผลิตผลกับเราตั้งแต่ระยะสั้นถึงระยะยาว
อีกทั้งยังลดภาระการให้น้ำและลดต้นทุนในการปลูกซ้ำ พื้นที่ช่องว่างในหลุมยังใช้ประโยชน์ปลูกพืชผักช่วยคลุมพินแทนที่จะปล่อยให้วัชพืชขึ้น เลย
หลุมพอเพียง..!! ตามศาสตร์พระราชา ร.9 สามารถช่วยเกษตรกรปลดหนี้ได้จริงไหม ต้องดู..!! นำเสนอผ่านโดย พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย เจ้าอาวาทวัดป่านาคำ พระนักพัฒนาที่ช่วยปลดหนี้เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรhttps://kasetsanjorn.com/1834/CR: กศน.Smart ONIE Smart Farmer 4.0#เกษตรสัญจร#หลุมพอเพียง#ศาสตร์พระราชา
Posted by เกษตรสัญจร on Tuesday, 10 March 2020