กระแสไม้ด่างกำลังมา แล้วรู้ไหมว่าด่างได้ยังไง?
ต้นไม้ใบด่าง บางต้นก็มีปัจจัยให้เกิดใบด่างตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการกลายพันธุ์ เช่น พลูด่าง ไทรด่าง หรือชบาด่าง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุ และวิธีการดูแลที่ต่างจากต้นไม้ทั่วไป ต้นไม้ด่างนั้นเกิดขึ้นยากในธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้แต่การตัดแต่งพันธุกรรมก็ถือว่าทำได้ยาก เฉลี่ยได้พันธุ์ไม้ด่างที่สวยแค่ 5% เท่านั้น อีกทั้งยังโตช้าและขยายพันธุ์ยาก ส่วนต้นไม้ด่างบางต้นที่ขยายพันธุ์ง่ายและโตเร็วก็จะราคาไม่แพง จึงเป็นอีกทางเลือกให้คนรักสวนได้นำไปใช้ปลูกเพื่อสร้างสีสันได้
แล้วสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ด่างมาจากไหน?
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม : เกิดจากปัจจัยภายนอกที่กระทบโครงสร้างทางพันธุกรรมของต้นไม้ เช่น สารเคมีหรือสารกำมันตภาพรังสี ทำให้กลายพันธุ์จากลักษณะเดิม นอกจากนี้ยังใช้ในวงการตัดแต่งพันธุ์ต้นไม้เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานหรือมีคุณลักษณะที่โดดเด่นกว่าสายพันธุ์เดิม
- ขาดแสงสว่าง : ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตคลอโรฟิลล์ที่ทำให้ต้นไม้มีใบสีเขียว สังเกตได้จากการนำต้นไม้ปกติไปวางในที่มืด ผ่านไปไม่กี่วันใบก็จะเป็นสีขาวซีดและอ่อนแอ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการเพาะถั่วงอกหรือกุยช่ายให้มีใบสีขาวหรือเขียวอ่อน โดยหากนำมาออกแดดก็จะให้ใบสีเขียวตามเดิม
- ขาดสารอาหาร : สารบางตัวมีผลต่อการสร้างเม็ดสีของใบ โดยหากต้นไม้ขาดแมกนีเซียม ใบจะเป็นสีเหลืองแต่เส้นใยยังเขียวอยู่ ถ้าขาดกำมะถันหรือฟอสฟอรัส ต้นมีจะใบด่างเหลืองทั้งใบ ซึ่งอาการจะหายไปหากได้รับสารอาหารดังกล่าวในดินครบถ้วน
- เกิดจากโรค : ต้นไม้มีการเจริญเติบโตผิดปกติ ใบมีลายสีด่างหรือสีเขียวไม่สม่ำเสมอกัน เล็กหรือย่น ส่วนยอดหรือดอกหงิกงอผิดจากรูปทรงเดิมและไม่ติดผล ลำต้นแคระแกร็น มีกิ่งก้านสั้นกว่าปกติ อาจเป็นอาการของโรคใบด่างในต้นไม้ หรือ Mosaic Virus ซึ่งเกิดจากไวรัส มักพบมากในมะละกอ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มันฝรั่ง หากตัดแต่งด้วยกรรไกรหรืออุปกรณ์เดียวกันก็สามารถแพร่ไปสู่ต้นอื่นได้
เมื่อต้นไม้เกิดลายด่าง อย่าพึ่งดีใจอาจจะเกิดโรคหรือว่าขาดสารอาหารก็ได้ ฉะนั้นสังเกตอาการดี ๆ ก่อนนะฮะ
#ไม้ด่าง #ต้นไม้ด่าง #ไม้ประดับ
——————————————————————–
เกษตรสัญจร: ศูนย์รวมความรู้การทำเกษตร
ติดตามคลิปดี ๆ คอนเทนต์เด็ด ๆ จากเกษตรสัญจรได้ทาง
Facebook : เกษตรสัญจร
Twitter: twitter.com/kasetsanjorn/
Website: kasetsanjorn.com