• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home บทความ

เริ่มทำเกษตรในวัย 11 ปี จากการทำเกษตรแบบผสมผสาน พื้นที่ 2 ไร่สู่ 31 ไร่

น้องกาฟิวส์ เกษตรกรอายุน้อย อายุแค่ 20 ปี แต่ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร โดยทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่จังหวัดอุทัยธานี น้องกาฟิวส์เริ่มทำการเกษตรตั้งแต่อายุ 11 ปี เมื่อ พ.ศ. 2557 โดยเริ่มจากการเลี้ยงปลาดุกและกบ

เกษตรสัญจรออนไลน์ by เกษตรสัญจรออนไลน์
กุมภาพันธ์ 11, 2023
in บทความ, เกษตรเคล็ดลับ
0
น้องกาฟิวส์

น้องกาฟิวส์

0
SHARES
45
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT
น้องกาฟิวส์ เกษตรกรอายุ 20 ปี
น้องกาฟิวส์ เกษตรกรอายุ 20 ปี

จุดเริ่มต้นในการทำการเกษตร

กะชังสำหรับเลี้ยงกบ
กระชังสำหรับเลี้ยงกบ

จุดเริ่มต้นในการหันมาทำการเกษตร เริ่มต้นจากอยากมีรายได้ โดยเริ่มต้นจากการเลี้ยงกบและปลาดุก สาเหตุที่เริ่มต้นจากกบและปลาดุกเนื่องจากชอบและมีใจรักในการเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่เด็ก เริ่มต้นจากการซื้อกบและปลาดุกมาเลี้ยงแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเลี้ยงไปแล้วไม่โต เพราะไม่มีความรู้เรื่องอาหารและการเลี้ยง ต้องใช้ระยะเวลากว่า 4 ปี จึงจะเริ่มประสบความสำเร็จ 

 

การตัดสินใจเริ่มต้นทำการเกษตรตั้งแต่อายุ 11 ปี ที่บ้านให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างดี โดยน้องกาฟิวส์เริ่มต้นทำมาถึง 4 ปี จึงจะเริ่มเห็นผล โดยได้รับทุนก้อนแรกประมาณ 6,000 บาท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ประสบผลสำเร็จจนทุกวันนี้

 

การทำงานกับครอบครัว
การทำงานกับครอบครัว

ช่วงแรกในการเริ่มต้นทำการเกษตร เริ่มจากพื้นที่ 2 ไร่ จนปัจจุบันมีพื้นที่มากถึง 31 ไร่ โดยคนในครอบครัวทุกคนช่วยกันดูแลเนื่องจากมีพื้นที่จำนวนมาก การทำเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ 31 ไร่ ของน้องกาฟิวส์ มีการปลูกผักหลากหลายชนิด โดยเฉพาะการปลูกมะเขือเทศ ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมา

 

ควายสายพันธุ์พัฒนา
ควายสายพันธุ์พัฒนา

ปัจจุบันที่ฟาร์ม เลี้ยงควายเป็นหลัก ซึ่งเป็นควายเกรดพัฒนา สำหรับนำไปพัฒนาเป็นควายราคาหลักล้าน มีการเลี้ยงกบจาน เป็นกบลูกผสมเลี้ยงเพื่อการค้า และการเลี้ยงปลาโดยจำหน่ายทั้งปลาเนื้อ และลูกปลา โดยเป็นพันธุ์ปลาน้ำจืดและปลาไทยสายพันธุ์ที่เริ่มหายาก เช่นปลาชะโอนและปลาหมอตาล และรับลูกปลาจากแหล่งอื่น ๆ มาจำหน่ายเป็นศูนย์กลางโดยจำหน่ายในราคาไม่แพง เพื่อเป็นตลาดกลางให้กลุ่มเครือข่าย

 

การเริ่มต้นเลี้ยงปลาควบคู่กับการเลี้ยงกบ 

บ่อสำหรับเลี้ยงลูกปลา
บ่อสำหรับเลี้ยงลูกปลา

การลงทุนเลี้ยงกบและปลาดุกครั้งแรกลงทุนด้วยงบหลักร้อย แต่ขาดความรู้ในเรื่องของการให้อาหารแต่ละช่วงวัย ทำให้กบและปลาดุกที่เลี้ยงได้รับอาหารไม่ถึง จึงไม่โต น้องกาฟิวส์จึงเริมเรียนรู้ใหม่ จากฟาร์มกบฟาร์มปลาใกล้เคียงที่มีความรู้จริง ๆ ทางฟาร์มก็ให้โอกาสในการเข้าไปเรียนรู้ สอนวิธีการในการเลี้ยงและให้คำแนะนำ ซึ่งน้องกาฟิวส์เข้าไปขอความรู้จากฟาร์มด้วยความตั้งใจจริง ทำให้ทางฟาร์มเต็มใจที่จะช่วยเหลือ

 

หลังจากเข้าไปเรียนรู้ที่ฟาร์ม น้องกาฟิวส์ได้นำมาปรับปรุงวิธีการเลี้ยงใหม่ ปรับเปลี่ยนพื้นที่และรูปแบบการเลี้ยง สาเหตุที่ก่อนหน้านี้น้องกาฟิวส์เลี้ยงกบและปลาดุกไม่ประสบผลสำเร็จเกิดจาก รูปแบบของบ่อที่เลี้ยงเช่นบ่อปูนจะมีข้อจำกัดในเรื่องของอาหารจากธรรมชาติ คุณภาพอาหารและปริมาณไม่สัมพันธ์กับจำนวนปลาที่เลี้ยง ทำให้ปลาไม่โต

 

เงินก้อนแรกที่ได้รับ 6,000 บาท ได้มาจากการขายพันธุ์ปลา โดยรับลูกปลาจากแหล่งต่าง ๆ มาอนุบาลขาย และต่อยอดเป็นจำนวนเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รู้จักเพื่อนใหม่ ๆ ในวงการการเลี้ยงปลาเยอะมากขึ้น เป็นการเกื้อกูลกันจากการเป็นตัวกลางช่วยจำหน่ายลูกปลา โดยที่ฟาร์มถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่

 

ที่ฟาร์มมีปลาสายพันธุ์อะไรบ้าง ?

บ่ออนุบาลลูกปลา
บ่ออนุบาลลูกปลา

ที่ฟาร์มจะมีลูกปลาจำหน่ายตามฤดูกาล โดยแบ่งเป็นปลาดุก ปลานิล ปลาสายพันธุ์พื้นฐานทั่วไป รวมทั้งปลาสายพันธุ์แปลก ๆ เช่น ปลาสวายเผือก ปลาแรดเผือก และมีปลาสวยงามบ้าง

 

ปลานิลจิตรลดา3
ปลานิลจิตรลดา3

ลูกปลาสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมจะเป็น ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา3 เป็นปลานิลสายพันธุ์ที่ยังไม่ถูกแปลงเพศ เป็นที่นิยมและยอดขายเป็นอันดับ 1 เนื่องจากปลานิลสายพันธุ์นี้สามารถขยายพันธุ์ได้ และกินพืชเป็นอาหาร นำไปเลี้ยงแค่ระยะเวลา 4 เดือน สามารถขยายพันธุ์ต่อได้ โดยซื้อแค่ครั้งเดียวก็สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้แล้ว ที่ฟาร์มจะจำหน่ายอยู่ที่ตัวละประมาณ 1 บาทกว่า ๆ ซึ่งที่ฟาร์มจะไม่จำกัดจำนวนการซื้อขั้นต่ำ สามารถซื้อได้ในหลักสิบถึงหลักหมื่นตัว

 

ลูกปลาทับทิม

ปลาตะเพียน ปลายี่สก ที่ฟาร์มจะมีจำหน่ายด้วย โดยจำหน่ายที่ราคาตัวละประมาณบาทกว่า ๆ คล้าย ๆ กับลูกปลาพันธุ์อื่น ๆ และปลาทับทิมจำหน่ายที่ราคาตัวละประมาณ 3 บาทกว่า โดยปลาทับทิมของที่ฟาร์มจะโตไว สันหนา และตัวอ้วน ซึ่งสายพันธุ์ปลาที่ฟาร์มนำมาจำหน่ายจะเป็นสายพันธุ์ที่สามารถเลี้ยงรวมกันได้

 

ปลาดุกที่ฟาร์มจะมีจำหน่ายในราคาตัวละประมาณบาทกว่า ๆ เหมือนกัน แต่ปลาดุกควรเลี้ยงแยก เนื่องจากปลาดุกชอบหนี และปลาดุกเป็นปลากินเนื้อไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลากินพืช ปลาดุกจะใช้เวลาการเลี้ยงน้อยกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ใช้เวลาเลี้ยงแค่ 3 – 4 เดือนก็สามารถจำหน่ายได้แล้ว ที่ฟาร์มจะมีปลาเนื้อจำหน่าย จะมีปลาดุกจำหน่ายในกิโลกรัมละ 50 – 60 บาทต่อกิโลกรัม และปลาทับทิมจำหน่าย 80 บาท ต่อกิโลกรัม 

 

สายพันธุ์ปลาหายากที่มีจำหน่าย

นอกจากที่ฟาร์มจะจำหน่ายลูกปลาสายพันธุ์ทั่วไปแล้ว ยังมีสายพันธุ์ปลาไทยโบราณที่หายากและใกล้สูญพันธุ์จำหน่ายด้วย เช่น ปลาหมอตาล และปลาชะโอน จัดเป็นประเภทปลาเนื้ออ่อน ชนิดที่กินพืช ซึ่งขายดีมากเป็นที่สนใจของลูกค้าจากทั่วประเทศ

 

ปลาหมอตาล

การเลี้ยงปลาหมอตาล มีวิธีการเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยาก สามารถเลี้ยงในกระชังหรือบ่อดิน โดยให้อาหารกบเป็นอาหารหลักเนื่องจากมีโปรตีนสูง เลี้ยงแค่ 6 – 7 เดือน สามารถจำหน่ายได้ โดยจำหน่ายที่กิโลละประมาณ 70 – 80 บาท และมีต้นทุนการเลี้ยงต่ำ ลักษณะเนื้อของปลาหมอตาลจะค่อนข้างหวาน เป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะเนื้อใกล้เคียงกับปลาสลิด

 

ปลาชะโอนหรือปลาเนื้ออ่อน
ปลาชะโอนหรือปลาเนื้ออ่อน

ปลาชะโอนที่ฟาร์มกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทดลองเลี้ยง ยังไม่มีจำหน่าย ปลาชะโอนหรือปลาเนื้ออ่อน จะมีรสชาตืที่อร่อยมาก มีราคาค่อนข้างสูง ใช้เวลาเลี้ยงแค่ 4 – 5 เดือน สามารถจำหน่ายได้ และใช้ต้นทุนไม่มาก ที่ฟาร์มจะใช้วิธีการเลี้ยงลูกปลาแบบไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้ลูกปลาที่ฟาร์มมีความแข็งแรง ไม่ตายง่าย 

 

หากสนใจเลี้ยงปลาต้องเริ่มต้นอย่างไร ?

การจำหน่ายลูกปลา
การจำหน่ายลูกปลา

หากจะเลี้ยงพันธุ์ปลา ให้ดูจากความสนใจและพื้นที่ก่อน สิ่งสำคัญคือใจรัก และต้องมีเงินทุน ซึ่งปัจจุบันเงินทุนสำคัญมากในยุคนี้ หากจะเริ่มต้นทำอะไรต้องใช้ทุนเป็นหลัก  โดยให้เริ่มต้นทำจากเล็กไปใหญ่จะดีที่สุด ตามคำสอนที่ว่า เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง ต้องมีการดูแลและใส่ใจในทุกอย่างแม่กระทั่งการสรรหาลูกพันธุ์ อาหาร และสิ่งสำคัญที่สุดคือการตลาดที่เป็นตัวแแปรสำคัญ 

 

นอกจากการเลี้ยงปลาแล้วที่ฟาร์มยังมีการเลี้ยงกบจานควบคู่ไปด้วย

การเลี้ยงกบเลี้ยงอย่างไร ?

กบจานสายพันธุ์ลูกผสม

กบที่เลี้ยงในฟาร์มจะเป็นกบจานสายพันธุ์ลูกผสม โดยมีการเลี้ยงตามร่องสวนในกระชัง เลี้ยงแค่ระยะเวลา 2 เดือน เริ่มจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 90 -100 บาท ซึ่งในช่วงหน้าหนาวราคาจะค่อนข้างแพง สามารถจำหน่ายได้ถึงตันละประมาณ 100,000 บาท 

 

ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชังคือ ?

กบจานสายพันธุ์ลูกผสมในกระชัง
กบจานสายพันธุ์ลูกผสมในกระชัง

การเลี้ยงกบในกระชัง จะมีข้อดีคือไม่ต้องคอยถ่ายน้ำ เนื่องจากที่ฟาร์มจะมีการดูแลน้ำอยู่ตลอด และมีการบำบัดน้ำด้วยผักบุ้ง โดยจะปลูกผักบุ้งสลับกับการเลี้ยงกบในกระชังและมีการใส่จุลินทรีย์บ้างเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสีย 

 

การบำบัดน้ำเสียด้วยผักบุ้ง
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักบุ้ง

กระชังที่ใช้สำหรับเลี้ยงกบ จะแบ่งเป็นกระชังสำหรับแยกไซต์ ขนาดกระชังจะแบ่งเป็น 3 x 2.5 เมตร จะปล่อยกบที่กระชังละ 700 ตัว และใช้แพรองเท้ายัดใส้ข้างล่างกระชัง เพื่อให้กบสามารถเกาะได้และไม่จมน้ำ

 

ข้อควรระวังในการเริ่มต้นเลี้ยงกบ

แพรองเท้า ใช้รองก้นกระชัง

ในการเลี้ยงกบช่วงแรก มีเทคนิคที่สำคัญคือ หากนำลูกกบมาช่วงแรกต้องปูแพให้เต็ม อย่าให้มีช่องน้ำเยอะเพราะลูกกบจะจมน้ำตายเนื่องจากว่ายน้ำยังไม่แข็งแรง 

 

วิธีการดูแลกระชังกบ

การใช้ตาข่ายคลุมกระชังกบ

ในช่วงหน้าร้อนต้องมีการปิดแสลนเพื่อป้องกันแสงแดด แต่ในช่วงหน้าหนาวจะไม่มีการปิดสแลนเนื่องจาก อากาศหนาวต้องให้กบได้รับความอบอุ่นจากแสงแดด แต่ต้องมีตาข่ายปิดด้านบนเพื่อกันนกและงู 

 

ปัจจุบันที่ฟาร์มยังมีการเลี้ยงควายเป็นหลัก ซึ่งมีเทคนิคและวิธีการดังนี้ครับ

 

การเลี้ยงควายเกรดพัฒนาคืออะไร ?

โรงเรือนในตอนกลางวันสำหรับควายเกรดพัฒนา
โรงเรือนในตอนกลางวันสำหรับควายเกรดพัฒนา

ควายเกรดพัฒนาคือควายที่มีพัฒนาการมาจากควายเนื้อ มีความสูงเฉลี่ยที่ 135-145 เซนติเมตร เป็นจุดเริ่มต้นของควายเกรดที่จะนำไปพัฒนาเป็นควายราคาตัวละล้าน สาเหตุที่ตัดสินใจเลี้ยงควายเกรดพัฒนา เนื่องจากมองว่ามีมูลค่ามากกว่าควายเนื้อ ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมและมีวิธีการเลี้ยงคล้าย ๆ กับควายทั่วไป 

 

ข้อแตกต่างระหว่างควายเนื้อกับควายเกรดพัฒนา

ควายสายพันธุ์พัฒนา จุดเริ่มต้นควายราคาหลักล้าน
ควายสายพันธุ์พัฒนา จุดเริ่มต้นควายราคาหลักล้าน

จะแตกต่างในด้านการทำโรงเรือน โดยการเลี้ยงควายเกรดพัฒนา จะมีโรงเรือนสำหรับให้พักผ่อนในตอนกลางวัน มีบ่อน้ำให้ควายแช่น้ำเล่น จะไม่เหมือนควายเนื้อที่จะปล่อยให้ไปทานหญ้าตามอิสระ ไม่มีหลังคาบังแดด 

 

การเลี้ยงควายสายเกรดพัฒนา จะมีการเสริมอาหารเม็ดและดูแลด้านโภชนาการ มีสัตวแพทย์คอยดูแล ปัจจุบันที่ฟาร์มมีควายสายพันธุ์พัฒนาในราคาหลักหมื่นถึงหลักแสน จำนวน 16 – 17 ตัว โดยควายเกรดพันธุ์พัฒนา จะมีโครงที่ใหญ่และมีความสูง ตัวหนา

 

ลักษณะที่ดีของความยเกรดพัฒนา
ลักษณะที่ดีของควายเกรดพัฒนา

ลักษณะของควายสายพันธุ์พัฒนาที่ดี ให้สังเกตุจากลักษณะการยืนจะต้องสมส่วน ขาใหญ่ ลำตัวหนา คอใหญ่ และส่วนสูงได้มาตรฐาน

การดูแลควายสายพันธุ์พัฒนา

การเลี้ยงควายสายพันธุ์พัฒนาในพื้นที่ 5 ไร่
การเลี้ยงควายสายพันธุ์พัฒนาในพื้นที่ 5 ไร่

การให้อาหารจะให้เป็นอาหารเม็ดและรำในช่วงเช้า โดยจะให้ฟางเป็นอาหารเสริมเพื่อให้ควายเคี้ยวเอื้อง และจะให้หญ้าแพงโกล่ารวมกับหญ้าทั่วไปเสริมด้วย ที่ฟาร์มปลูกหญ้าแพงโกล่าเอง ในพื้นที่ 7 ไร่ เพื่อเป็นอาหารหลักในการดูแลควายสายพันธุ์พัฒนา  ส่วนอาหารเม็ดที่ให้ควายรับประทาน จะเป็นอาหารโคเนื้อ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของรูปร่าง

ที่ฟาร์มแบ่งพื้นที่การเลี้ยงควายสายพันธุ์พัมนาประมาณ 5 ไร่  มีควายทั้งหมด 17 ตัว โดยมีตัวผู้แค่ 1 ตัว นอกนั้นเป็นตัวเมียทั้งหมด ในฟาร์มจะมีการเตรียมบ่อน้ำสำหรับควายแวะมากินน้ำในเวลาที่หิว และมีการปล่อยควายให้ออกไปเดินเล่นในพื้นที่กว้าง ๆ เพื่อให้ควายไม่เครียด

 

วิธีการขยายพันธุ์ควายสายพันธุ์พัฒนา

แม่พันธุ์ควายเกรดพัฒนา
แม่พันธุ์ควายเกรดพัฒนา

การผสมพันธุ์ควายจะใช้การผสมจากน้ำเชื้อเกือบทั้งหมด โดยปศุสัตว์จะมีแคตตาล็อกมาให้เลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่ต้องการผสมได้เลย 

 

ลูกควายเผือกเกรดพัฒนา
ลูกควายเผือกเกรดพัฒนา

การผสมแต่ละครั้งอาจจะมีโอกาสที่ไม่ติดลูกได้ ซึ่งราคาในการผสมแต่ละครั้งประมาณ 2,000 – 4,000 บาท ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ต้องการผสม หากเป็นดีกรีแชมป์เปียนจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง ลูกควายที่คลอดออกมาหากเป็นตัวเมียจะมีราคาสูงมากกว่าตัวผู้ และตัวเมียจะมีขนาดตัวใหญ่กว่า โดยลูกควายที่คลอดออกมา จะอยู่ติดกับแม่ของตัวเองเป็นคู่ ๆ 

 

การบริการจัดการโรงเรือนสำหรับควายเกรดพัฒนา

โรงเรือนสำหรับให้ควายนอน
โรงเรือนสำหรับให้ควายนอนในเวลากลางคืน

การจัดการโรงเรือนสำหรับให้ควายนอนในเวลากลางคืน จะมีการกางมุ้งเพื่อให้ยุงไม่เข้ามากัด ใช้แสลนกาง และมีเบาะรองนอนสำหรับควาย โดยจะให้เฉพาะควายที่มีตัวใหญ่และน้ำหนักเยอะ เพื่อป้องกันผิวพรรณไม่ให้ถลอกและเป็นแผล การทำความสะอาดโรงเรือนจะทำทุกวันในช่วงเช้าและเย็น โดยจะทำความสะอาดหลังจากที่ควายออกไปพักในเวลาเช้า 

 

ภายในโรงเรือนสำหรับให้ควายนอน
ภายในโรงเรือนสำหรับให้ควายนอน

ใน 1 โรงเรือน สามารถให้ควายนอนได้ประมาณ 6 – 7 ตัว โดยจะไม่ให้แออัดจนเกิดไป เพราะจะทำให้ควายเครียดได้  การกางมุ้งสำหรับควายเป็นขั้นตอนที่สำคัญ โดยจะมีการรมควันก่อนที่ควายจะเข้ามาในคอก หากควายโดนยุงกัดจะทำให้ควายนอนไม่หลับและเป็นโรคทำให้สุขภาพไม่ดี ซึ่งหากควายมีสุขภาพที่ดี จะส่งผลให้โตไว และขายได้ราคาดีมากขึ้น 

 

อุปสรรค์ที่พบเจอมีอะไรบ้าง ?

การให้อาหารลูกปลา

อุปสรรค์ที่พบเจอก่อนจะประสบความสำเร็จจนทุกวันนี้ เริ่มต้นจากการเพาะเลี้ยงกบที่สูญเสียลูกอ๊อดที่ทดลองเลี้ยงไปประมาณเกือบล้านตัว ท้อแท้และเสียใจมาก จึงตัดสินใจเข้าไปขอความรู้จากฟาร์มใกล้เคียง ซึ่งทางฟาร์มให้กำลังใจและช่วยน้องกาฟิวส์สู้จนประสบความสำเร็จ

แนวความคิดในการไม่ยอมแพ้ของน้องกาฟิวส์คือ การสู้อย่างไม่ยอมแพ้ และกล้าคิดกล้าทำ ถ้าเราไม่สู้เราจะไม่สามารถมีอย่างคนอื่น การที่เราจะสำเร็จได้ต้องสู้เพื่อให้ประสบความสำเร็จ อาจจะมีการได้รับคำติชมจากคนรอบข้างบ้างเนื่องจากอายุยังน้อย และขาดประสบการณ์ แต่น้องกาฟิวส์ก็ไม่ย่อท้อ กำลังใจสำคัญที่สุดคือคนในบ้าน และกำลังใจจากตัวเอง จึงทำให้ประสบความสำเร็จจนทุกวันนี้

 

ชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ?

การร่วมมือจากคนในครอบครัว

ทุกวันนี้น้องกาฟิวส์มีความสุขในการทำการเกษตร มีอาชีพเลี้ยงครอบครัว มีรายได้ ทำให้คนในครอบครัวมีความสุข โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่รู้สึกยินดีและภูมิใจที่น้องกาฟิวส์เลือกทำการเกษตร และคนในครอบครัวทุกคนช่วยเหลือกันทำให้ที่ฟาร์มประสบความสำเร็จ 

น้องกาฟิวส์ภูมิใจกับการทำเกษตรในทุกวันนี้มาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว และยังสามารถเผื่อแผ่ไปยังคนอื่นทำให้มีอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ เช่นคนที่มาซื้อลูกปลาไปจำหน่าย น้องกาฟิวส์จะให้ความรู้ด้วยความจริงใจ หากนำพันธุ์ปลาไปเลี้ยงแล้วประสบความสำเร็จ ก็จะได้กลับมาซื้อที่ฟาร์มอีก

แรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต ของน้องกาฟิวส์คือการสู้ รวมทั้งต้องขยันและประหยัด จะไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย แต่ต้องอยู่ในทางสายกลาง หาความความสุขให้ตัวเองบ้าง

 

การต่อยอดในอนาคต ?

ในอนาคตที่ฟาร์มจะมีการต่อยอดเพิ่มมากขึ้นโดยการเลี้ยงปลาเนื้อให้เยอะขึ้น โดยเฉพาะปลานิลที่มีลูกค้าสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก และการพัฒนาสายพันธุ์ปลาชะโอนให้ประสบความสำเร็จ

 

คำแนะนำในการทำการตลาด

ให้เริ่มต้นจากการทำโปรไฟล์เพื่อสร้างตัวตน ว่าเรามีสินค้าอะไรจำหน่าย โดยเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ก่อน จะไม่ทำเยอะเพราะกลัวว่าจะไม่มีที่ขาย และทำสินค้าให้ดี มีคุณภาพ 

 

เทคนิคการสร้างตัวตนเพื่อนำสินค้าไปขาย ?

น้องกาฟิวส์เกษตรกรอายุน้อย
น้องกาฟิวส์เกษตรกรอายุน้อย

เริ่มต้นจากโซเชียลในเฟสบุค โดยเริ่มสร้างโปรไฟล์ จากการเลี้ยงปลา เพื่อให้ทราบว่าที่ฟาร์มมีอะไรบ้าง โดยเน้นลงโซเชียลเป็นประจำเพื่อให้คนเห็นว่ามีสินค้าจำหน่ายจริง และมีลูกค้ามารีวิวสินค้า เป็นการบอกต่อกันไปเรื่อย ๆ รวมถึงทำป้ายโฆษณาตามข้างทาง เพื่อเป็นการขยายกลุ่มตลาด แต่ที่สำคัญคือสินค้าต้องมีคุณภาพและราคาไม่แพง โดยถือคติ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน  และปัจจุบันมีฟาร์มปลาจำหน่ายจำนวนมากหากจำหน่ายสินค้าที่แพงและไม่มีคุณภาพ ลูกค้าก็จะไม่กลับมาซื้อ ซึ่งปัจจุบันที่ฟาร์มค่อนข้างมีชื่อเสียงในเรื่องของคุณภาพ ในชื่อของ “กาฟิวส์ พันธุ์ปลา อุทัยธานี” 

หากเพื่อน ๆ เกษตรสัญจร สนใจการทำเกษตรแบบผสมผสานทั้งสายพันธุ์ปลาน้ำจืด การเลี้ยงกบ และการเลี้ยงควายสายพันธุ์พัฒนา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับน้องกาฟิวส์ได้ที่หมายเลข 061-3613477 ได้เลยครับ

 

……………………………………… 

เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 

รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกษตรเพิ่มเติมได้ที่ : 

𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: เกษตรสัญจร

𝗟𝗜𝗡𝗘 𝗢𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗮𝗹: @kasetsanjorn

𝗕𝗹𝗼𝗰𝗸𝗱𝗶𝘁: blockdit.com/kasetsanjorn/

𝗬𝗼𝘂𝗧𝘂𝗯𝗲: youtube.com/c/Kasetsanjorn

𝗧𝗶𝗸𝗧𝗼𝗸: tiktok.com/@kasetsanjorn

𝗧𝘄𝗶𝘁𝘁𝗲𝗿: twitter.com/kasetsanjorn/ 

𝗪𝗲𝗯𝘀𝗶𝘁𝗲: kasetsanjorn.com

 

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
Tags: การเลี้ยงกบการเลี้ยงควายการเลี้ยงปลานิลพันธุ์ปลาเกษตรกรเลี้ยงกบในกระชัง
เกษตรสัญจรออนไลน์

เกษตรสัญจรออนไลน์

Related Posts

กระถิน

ทำปุ๋ยหมักจากใบกระถิน

กันยายน 22, 2023
กระเจี๊ยบ

วิธีปลูกกระเจี๊ยบเขียว 

กันยายน 20, 2023
ไคโตซานพืช

วิธีทำ ไคโตซาน บำรุงพืช จากกะปิ

กันยายน 18, 2023
สวนเสาวรส

ปลูกเสาวรสหวานไต้หวัน แบบออร์แกนิค

กันยายน 16, 2023
สูตรปรุงดิน

เทคนิคปรุงดินและย้ายกิ่งพันธุ์

กันยายน 16, 2023
ทำจุลินทรีย์ขั้วเหนียว จากหัวปลี

ทำจุลินทรีย์ขั้วเหนียว จากหัวปลี

กันยายน 15, 2023

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ

      Warning: Attempt to read property "user_url" on bool in /home/zdfcszwp/public_html/kasetsanjorn.com/wp-content/plugins/wp-seo-structured-data-schema-pro/lib/functions/KcSeoOptions.php on line 7