• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home บทความ

ทำเกษตรแนวใหม่ “เลี้ยงปลาหมอในนาข้าว”

แปรรูปปลาหมอไร้ก้างขาย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

เกษตรสัญจรออนไลน์ by เกษตรสัญจรออนไลน์
ธันวาคม 5, 2022
in บทความ, เกษตรเคล็ดลับ
0
ปลาหมอ

ปลาหมอ

0
SHARES
65
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาหมอ " คึดฮอด ปลาหมอแดดเดียว กบแดดเดียว "
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาหมอ ” คึดฮอด ปลาหมอแดดเดียว กบแดดเดียว “

การทำเกษตรแนวใหม่ “วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาหมอ” อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ถูกก่อตั้งโดย พี่วัชระ หินดี ประธานกลุ่ม ก่อนที่พี่วัชระจะเริ่มต้นเลี้ยง “ปลาหมอไทย” พี่วัชระทำงานบริษัทเกี่ยวกับโรงผลิตพลังงานไฟฟ้ามาก่อน แต่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดไปต่างประเทศบ่อย ๆ  พี่วัชระมองว่าไม่มีเวลาให้กับครอบครัว จึงได้มองหาอาชีพที่สามารถหาเงินได้และมีเวลาให้กับครอบครัวด้วย ก่อนที่จะตัดสินใจลาออกจากกงาน ทางครอบครัวไม่ค่อยสนับสนุน แต่พี่วัชระก็สามารถพิสูจน์ให้ทุกคนเห็น ว่าการเลี้ยงปลาหมอเป็นอาชีพที่สามารถประสบความสำเร็จได้

 

ทำไมถึงเลือกเลี้ยงปลาหมอ ?

พี่วัชระ ประธานกบุ่มแปรรูปปลาหมอ
พี่วัชระ ประธานกลุ่มแปรรูปปลาหมอ

พี่วัชระมองว่าปลาหมอเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับชนบทที่เจอมาตั้งแต่เด็ก และกลุ่มตลาดการเลี้ยงปลาหมอยังไม่ค่อยมีใครทำ จึงนำแนวคิดนี้มาทำการตลาดและแปรรูปปลาหมอขาย

ในช่วงแรกพี่วัชระไม่มีความรู้ในด้านการทำอาหารหรือแปรรูปอาหารเลย จึงเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่และศึกษาเรียนรู้ ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปี ในการลองผิดลองถูก ดูผลตอบรับของลูกค้าและนำมาปรับปรุง 

 

เริ่มต้นเลี้ยงปลาหมอยังไง ?

ปลาหมอสายพันธุ์ชุมพรที่พี่วัชระนำมาเลี้ยง
ปลาหมอสายพันธุ์ชุมพรที่พี่วัชระนำมาเลี้ยง

ปลาหมอไทย ที่พี่วัชระเลี้ยงเป็นปลาหมอสายพันธุ์ชุมพร ในช่วงแรกพี่วัชระเริ่มต้นการเลี้ยงปลาหมอในกระชังบก เพื่อที่ทำให้ชาวบ้านรู้ว่าที่บนเขาสามารถเลี้ยงปลาได้ และนำปลาหมอมาแปรรูปให้เห็นว่าสามารถทำในครัวเรือนเล็ก ๆ ได้ เมื่อเริ่มประสบความสำเร็จจึงเริ่มมีคนสนใจและอยากมาเรียนรู้ด้วย พี่วัชระจึงสอนเรื่องการเลี้ยงปลาหมอ การแปรรูป ให้กับชาวบ้านในชุมชน

 

ปลาหมอใช้ระยะเวลาเลี้ยงกี่เดือน ?

ปลาหมออายุ 3 เดือน
ปลาหมออายุ 3 เดือน

ปลาหมอชุมพร ที่พี่วัชระเลี้ยง ใช้ระยะเวลา 3 เดือน จะสามารถนำมาจำหน่ายได้ น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 5 ตัวต่อกิโลกรัม ปลาหมอที่เลี้ยงไว้สามารถจำหน่ายได้กิโลละ 80-150 บาท แต่ถ้านำปลาหมอไปแปรรูปขายจะสามารถจำหน่ายได้ที่กิโลกรัมละ 400- 3,000 บาท

 

แนวคิดในการเลี้ยงปลาในนาข้าวมาจากไหน ?

การเลี้ยงปลาในนาข้าว
การเลี้ยงปลาในนาข้าว

แนวคิดในการเลี้ยงปลาในนาข้าว พี่วัชระศึกษาจากในโซเชียล และเชื่อมโยงกับเกษตรในอำเภอ ในอำเภอจะมีการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ และพี่วัชระได้เลี้ยงปลาหมออยู่แล้ว จึงนำมาผสมผสานกัน การเลี้ยงปลาในระบบนี้เป็นการเกื้อกูลในระบบนิเวศ ให้ประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างข้าวกับปลา ข้าวจะได้รับประโยชน์จากขี้ปลา ข้าวดูดซึมสาารอาหารทำให้น้ำสะอาด และปลาไม่มีกลิ่นคาว

 

จุดเริ่มต้นในการแปรรูปปลาหมอ

ปลาหมอไซต์ที่จับมาแปรรูป
ปลาหมอที่จับมาแปรรูปเป็นปลาหมอแดดเดียว

ในตอนแรกพี่วัชระนำปลาหมอมาทำเป็นปลาหมอแดดเดียวทอดขายในงานวัด และเริ่มมองว่าปลาหมอสามารถนำมาแปรรูปและส่งขายต่างจังหวัดได้ จึงเริ่มต้นจากจุดนนี้ทำการแปรรูปปลาหมออกจำหน่าย

เมื่อพี่วัชระแปรรูปปลาหมอมาได้ช่วงนึง จึงเริ่มมองเห็นกลุ่มลูกค้าว่าทำไมถึงไม่นิยมบริโภคปลาน้ำจืด และพบสาเหตุว่าที่คนไม่นิยมบริโภคปลาน้ำจืดเนื่องจากกลัวก้าง และกลัวความคาวของปลา พี่วัชระจึงเริ่มศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่สามารถช่วยให้เนื้อปลาไม่คาว และแปรรูปปลาหมอโดยการใช้แหนบดึงก้างทุกชิ้นออกจากตัวปลา เพื่อทำให้ผู้บริโภคปลาหมอแดดเดียวของพี่วัชระไม่ต้องกลัวก้างอีกต่อไป

 

คนที่ไม่ชอบปลาชิมแล้วรู้สึกยังไง ?

ปลาหมอสายพันธุ์ชุมพร
ปลาหมอที่เลี้ยงในนาข้าวจะไม่มีกลิ่นคาว

พี่วัชระได้มีโอกาสนำปลาหมอแดดเดียวไปให้ผู้ที่ไม่ชอบทานปลาทดลองชิม และได้คำตอบว่าปลาหมอแดดเดียวของพี่วัชระเนื้อแน่นและไม่คาว

ในช่วงเริ่มต้นการเลี้ยงปลาหมอในนาข้าว พี่วัชระเริ่มคุยกับคนในชุมชนที่มีการแปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบอินทรีย์อยู่แล้ว พี่วัชระมองว่าข้าวไรซ์เบอร์รี่มีจุดเด่นจึงนำการเลี้ยงปลาหมอในนาข้าวที่มีจุดเด่นเหมือนกันมาคุยกันว่าการเลี้ยงปลาหมอในนาข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีการเกื้อกูลกัน ไม่ต้องใช้ปุ๋ย ใช่สารเคมี จึงตกลงกันและทำแปลงนาสาธิตขึ้นมา 1 แปลง

 

การเลี้ยงปลาในนาข้าวต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

แปลงนาสาธิตการเลี้ยงปลาหมอในนาข้าว
แปลงนาสาธิตการเลี้ยงปลาหมอในนาข้าว

ขั้นตอนแรกคือการออกแบบแปลงนา ว่าจะทำออกมาในรูปแบบไหน เมื่อออกแบบเสร็จจะเริ่มวางแผนการทำที่คลุมกันนกกันศัตรูที่จะมาทำลายข้าวและปลา หลังจากปลูกข้าวเสร็จจะสามารถนำข้าวไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อะไร

การจัดการพื้นที่การเลี้ยงปลาในนาข้าว ในแปลงสาธิตพื้นที่ 1 งาน จะมีการปลูกข้าวไว้ 1 แปลง และใช้รถมาขุดเป็นร่องลึกประมาณ 1.5 เมตร – 2 เมต รอบนาข้าว และเติมน้ำให้เต็มเพื่อกักเก็บน้ำมาใช้ในเวลาหน้าแล้ง สามารถใช้น้ำในร่องน้ำดูแลข้าวได้ 

บ่อปลาหมอขนาด 1.5 - 2 เมตร
บ่อปลาหมอขนาด 1.5 – 2 เมตร

ร่องน้ำที่ขุดไว้จะปล่อยปลาหมอลงไป ช่วงเวลาที่ปล่อยน้ำลงไปในนาข้าว ปลาหมอจะสามารถว่ายน้ำไปหากินในนาข้าว เพื่อช่วยกินแมลงศัตรูที่จะมาทำลายข้าว  

ล้อมตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน
ล้อมตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน

การป้องกันด้านนอกแปลงจะใช้ตาข่ายล้อมรอบเพื่อกันงูหรือสัตว์เลื้อยคลานที่จะมากินปลาตัวเล็ก ๆ ที่พึ่งปล่อย ด้านบนแปลงข้าวจะมุงตาข่ายเพื่อป้องกันนกที่จะมากินเมล็ดข้าว

มุงตาข่ายด้านบนแปลงข้าวเพื่อกันนก
มุงตาข่ายด้านบนแปลงข้าวเพื่อกันนก

 

การปล่อยปลาและปลูกข้าวต้องทำตอนไหน ?

แปลงข้าวที่ปล่อยปลาหมอลงไปเลี้ยง
แปลงข้าวที่ปล่อยปลาหมอลงไปเลี้ยง

การปล่อยปลาและปลูกข้าวต้องทำพร้อมกัน ในแปลงสาธิตจะสามารถปล่อยลูกปลาหมอได้ 2,000 ตัว เมื่อเวลาข้าวสามารถเกี่ยวได้จะครบระยะเวลาในการจับปลาพอดี โดยข้าวจะใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 4 เดือน ปลาหมอจะใช้ระยะเวลาเจริญเติบโตประมาณ 5 เดือน

แปลงข้าวอายุ 4 เดือน ที่สามารถเกี่ยวข้าวได้
แปลงข้าวอายุ 4 เดือน ที่สามารถเกี่ยวข้าวได้

เมื่อครบระยะเวลา 4 เดือน หลังจากที่เกี่ยวข้าวแล้ว จะปล่อยน้ำในร่องที่เลี้ยงปลาหมอเข้าสู่นาข้าว ซังข้าวที่เกี่ยวทิ้งไว้จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยไปในตัว และปลาหมอสามารถกินซังข้าวได้

หลังจากทำแปลงทดลองแล้วพี่วัชระพึงพอใจในระดับนึง และมองว่าจะทำการขยายแปลงเพิ่ม ข้าวที่ปลูกไว้พี่วัชระจะนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์และนำไปขยายแปลงนาของชาวบ้านเพิ่ม

ตั้งแต่เริ่มต้นทำจนปัจจุบันพี่วัชระมองว่า ความแตกต่างระหว่าง 4 ปีที่แล้วจนปัจจุบัน พี่วัชระเริ่มมองถึงการเน้นพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและปลอดภัยกับผู้บริโภคทุกคน

พี่วัชระกับความสุขในอาชีพการเลี้ยงปลาหมอ
พี่วัชระกับความสุขในอาชีพการเลี้ยงปลาหมอ

การกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านของพี่วัชระ มีความสุขแตกต่างจากการทำงานที่บริษัทจากหน้ามือเป็นหลังมือ พี่วัชระทำงานเลี้ยงปลาหมอในนาข้าวด้วยความรักและความอยากทำ ผลงานที่ได้มาจะมีความสุขในตัวเอง

พี่วัชระมองว่าการจะสร้างแบรนด์ต้องสร้างตัวตนนำผลิตภัณฑ์ก่อน โดยการสร้างตัวตนให้คนรู้จักเพื่อที่จะได้รับออเดอร์มากขึ้นและนำมาขยายกำลังผลิต  การสร้างตัวตนของพี่วัชระคือการทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก มีจุดเด่นอย่างไร มาจากไหน และมีอะไรให้กับลูกค้าบ้าง

ในอนาคตพี่วัชระวางแผนว่าจะสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชมเพิ่มมากขึ้น เช่นการพัฒนาสินค้าชนบทอีสาน อาหารพื้นบ้านและจะทำคิดฮอดข้าวผักปลาในอนาคต

ข้อคิดในการทำการเกษตรของพี่วัชระคือ การทำเกษตรไม่จำเป็นต้องทำเยอะ ให้พยายามทำจุดแข็งให้เกิดขึ้นและสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้มีจุดเด่นจำให้ประสบความสำเร็จได้

 

Currently Playing

ทำเกษตรแนวใหม่ "เลี้ยงปลาหมอในนาข้าว" ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ | เกษตรสัญจร

ทำเกษตรแนวใหม่ "เลี้ยงปลาหมอในนาข้าว" ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ | เกษตรสัญจร

00:10:10

……………………………………… 

เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกษตรเพิ่มเติมได้ที่ : 

𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: เกษตรสัญจร

𝗟𝗜𝗡𝗘 𝗢𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗮𝗹: @kasetsanjorn

𝗕𝗹𝗼𝗰𝗸𝗱𝗶𝘁: blockdit.com/kasetsanjorn/

𝗬𝗼𝘂𝗧𝘂𝗯𝗲: youtube.com/c/Kasetsanjorn

𝗧𝗶𝗸𝗧𝗼𝗸: tiktok.com/@kasetsanjorn

𝗧𝘄𝗶𝘁𝘁𝗲𝗿: twitter.com/kasetsanjorn/ 

𝗪𝗲𝗯𝘀𝗶𝘁𝗲:  kasetsanjorn.com

 

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
Tags: ปลาหมอชุมพรปลาหมอไทยสายพันธุ์ปลาหมอ
เกษตรสัญจรออนไลน์

เกษตรสัญจรออนไลน์

Related Posts

ไก่ตีนโต

“ไก่ตีนโต” สัตว์เศรษฐกิจมาแรง เลี้ยงง่าย รายได้งาม

มกราคม 23, 2023
ชะอม

รวมเทคนิค “ปลูกชะอม” ให้สร้างรายได้ทุกวัน

มกราคม 15, 2023
ปลูกผักอย่างไร ? ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ปลูกผักอย่างไร ? ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

มกราคม 12, 2023
ไผ่ซางหม่น

ไผ่ซางหม่น ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บผลผลิตได้ถึงชั่วลูกชั่วหลาน

มกราคม 7, 2023
เลี้ยงแกะเนื้อ

“เทคนิคเลี้ยงแกะเนื้อ” สร้างรายได้ 1 ปี คืนทุน

พฤศจิกายน 27, 2022
วิธีเลี้ยงผึ้งชันโรงในสวน ช่วยผสมเกสรแถมได้น้ำผึ้ง ได้สินค้าแปรรูปสร้างรายได้ให้เกษตรกร

วิธีเลี้ยงผึ้งชันโรงในสวน ช่วยผสมเกสรแถมได้น้ำผึ้ง ได้สินค้าแปรรูปสร้างรายได้ให้เกษตรกร

พฤศจิกายน 20, 2022

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ