• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

สวพส. พุ่งเป้าแก้ปัญหาหมอกควันลดการเผาบนพื้นที่สูง

ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือนั้นเป็นปัญหาสะสมและทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องมานานหลายปี ซึ่งภาคเหนือจะถูกปกคลุมด้วยหมอกควัน ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชากรในพื้นที่ต้องเผชิญกับมลภาวะทางอากาศ ซึ่งสาเหตุของปัญหาเรื่องหมอกควันนั้นเกิดมาจากการเผาพื้นที่เกษตร

ทีมงานเกษตรสัญจร by ทีมงานเกษตรสัญจร
มิถุนายน 9, 2021
in ข่าวเกษตร
0
สวพส. พุ่งเป้าแก้ปัญหาหมอกควันลดการเผาบนพื้นที่สูง
0
SHARES
11
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

สวพส. พุ่งเป้าแก้ปัญหาหมอกควันลดการเผาบนพื้นที่สูง

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือนั้นเป็นปัญหาสะสมและทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องมานานหลายปี ซึ่งภาคเหนือจะถูกปกคลุมด้วยหมอกควัน ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชากรในพื้นที่ต้องเผชิญกับมลภาวะทางอากาศ ซึ่งสาเหตุของปัญหาเรื่องหมอกควันนั้นเกิดมาจากการเผาพื้นที่เกษตร ทาง สวพส. จึงเข้าดำเนินงานในพื้นที่โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการกระบวนการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการจากหน่วยงานทุกระดับ โดยนำผลสำเร็จของสถาบันในการเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงในพื้นที่ โดยดำเนินการใน 44 พื้นที่ ครอบคลุม 8 จังหวัด  ซึ่งทำให้จุดความร้อน (Hotspot) ลดลงอย่างมีนัยยะ

 

แสดงจุดความร้อน 8 จังหวัดที่มีโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงตั้งอยู่

จังหวัด จำนวนพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯ ปี 2560

ม.ค. –  พ.ค

ปี 2561

ม.ค. –  พ.ค

ปี 2562

ม.ค. –  พ.ค

ปี 2563

ม.ค. –  พ.ค

ปี 2564

ม.ค. – พ.ค.

เชียงราย 3 64 118 1,271 816 113
เชียงใหม่ 20 48 632 1,813 2,579 710
แม่ฮ่องสอน 3 460 485 1,048 1,184 598
ตาก 4 987 1,321 874 1,525 442
น่าน 11 199 180 908 646 102
เพชรบูรณ์ 1 41 12 32 56 39
กำแพงเพชร 1 16 9 32 38 12
กาญจนบุรี 1 120 112 309 478 171
รวม 44 1,845 2,869 6,287 7,322 2,187

 

ในปี 2564 พบจุดความร้อนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง โดยจำแนกตามลุ่มน้ำ ดังนี้

  1. โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงกลุ่มที่ 1 เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และกาญจนบุรี พบจุดความร้อนในพื้นที่โครงการทั้งหมด 596 จุด พื้นที่รับผิดชอบของโครงการ 1,295,170 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ทั้งหมด
  2. โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงกลุ่มที่ 2 เชียงราย พบจุดความร้อนในพื้นที่โครงการทั้งหมด 113 จุด พื้นที่รับผิดชอบของโครงการ 469,758 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ทั้งหมด
  3. โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงกลุ่มที่ 3 น่าน พบจุดความร้อนในพื้นที่โครงการทั้งหมด 102 จุด
    พื้นที่รับผิดชอบของโครงการ 911,765 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของพื้นที่ทั้งหมด
  4. โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงกลุ่มที่ 4 ตากและแม่ฮ่องสอน พบจุดความร้อนในพื้นที่โครงการทั้งหมด 588 จุด พื้นที่รับผิดชอบของโครงการ 1,211,980 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ทั้งหมด
  5. โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะ (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและตาก) พบจุดความร้อนในพื้นที่โครงการทั้งหมด 388 จุด พื้นที่รับผิดชอบของโครงการ 1,214,384 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั้งหมด

ซึ่งจุดความร้อน (Hotspot) ทั้ง 5 พื้นที่ในปี 2564 รวมทั้งหมด 2,187 จุด เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรกรรม 599 จุด พื้นที่ป่า 1,588 จุด เมื่อเทียบกับปี 2563 เกิดจุดความร้อนในพื้นที่เกษตรกรรม 1,610 จุด พื้นที่ป่า 5,712 จุด จะเห็นได้ว่าจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรกรรมลดลงร้อยละ 63 และจุดความร้อนในพื้นที่ป่าลดลงร้อยละ 72 สืบเนื่องมาจากมาตรการแต่ละจังหวัดได้ออกมาตรการควบคุมและข้อบังคับใช้ทางกฎหมายกับผู้ที่ก่อเหตุ ทำให้ประชาชนตระหนักให้ความสำคัญกับปัญหาหมอกควัน ทางโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงได้เข้าดำเนินการให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อปรับระบบเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการเผา เพิ่มพื้นที่สีเขียว คืนป่า ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงทำให้เห็นว่าจุดความร้อนในพื้นที่โครงการฯ พบน้อยลงเมื่อเทียบกับทั้งจังหวัด

นายวิรัตน์ กล่าวต่อไปว่า สวพส. ได้ดำเนินงานในพื้นที่โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการกระบวนการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการจากหน่วยงานทุกระดับ มุ่งเป้าไปที่การทำให้เกษตรกรเปิดใจยอมรับและเห็นความสำคัญของปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตร เริ่มจากค้นหาผู้นำชุมชนที่มีความเสียสละ มีจิตอาสา ซื่อสัตย์มีคุณธรรม โดยสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นแก่ผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของการพัฒนา โดยเจ้าหน้าที่ สวพส. จะดำเนินงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชิด ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยคิดว่าชาวบ้านคือสมาชิกในครอบครัวที่สามารถให้คำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาได้ จนเกิดเป็นความเชื่อมั่นศรัทธาในแนวทางการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ สวพส. และให้ความร่วมมือในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การร่วมวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของชุมชน กำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา จากนั้นถ่ายทอดความรู้และให้ข้อมูลแก่ชุมชนในการปรับวิถีเกษตรจากดั้งเดิมที่มีการเผามาเป็นระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางโครงการหลวง ด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องตามสภาพภูมิสังคม เช่น การปลูกข้าวโพดโดยไม่ไถพรวนและเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่ว ส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา การทำคันปุ๋ยจากวัชพืชและตอซังข้าวโพด การปลูกข้าวระบบน้ำน้อย การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง ส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือน ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการส่งเสริมการปลูกป่าและหญ้าแฝกภายใต้โครงการจิตอาสาเราทำความดี หลายชุมชนเกิดความตระหนัก มีจิตสำนึกในการที่จะดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตให้เกื้อกูล ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างของชุมชนอยู่ร่วมกับป่า เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ ดูแลรักษา แก้ปัญหาร่วมกัน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ ว่าเราจะทำอย่างไรให้ดำรงและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ พัฒนาได้”

 

#PRNews #สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง #ปัญหาหมอกควัน #เกษตรสัญจร #ลดการเผาบนพื้นที่สูง

—————————

เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร

Facebook: facebook.com/kasetsanjorn

YouTube: youtube.com/c/Kasetsanjorn

Twitter: twitter.com/kasetsanjorn/

Website: kasetsanjorn.com

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
Tags: PRNEWSปัญหาหมอกควันลดการเผาบนพื้นที่สูงสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงเกษตรสัญจร
ทีมงานเกษตรสัญจร

ทีมงานเกษตรสัญจร

Related Posts

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

กันยายน 26, 2022
หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

สิงหาคม 13, 2022
วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

สิงหาคม 4, 2022
“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

เมษายน 4, 2022
พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

มีนาคม 7, 2022
เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

กุมภาพันธ์ 22, 2022

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ