• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั่วประเทศ เฝ้าระวังจักจั่นในไร่อ้อย

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในทุกภาคของประเทศไทย เฝ้าระวังการระบาดของจักจั่นในไร่อ้อยโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกอ้อยต่อเนื่อง เนื่องจาก พบการเข้าทำลายของจักจั่นอ้อยในหลายพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อย และเริ่มพบตัวเต็มวัยจากตัวอ่อนที่อยู่ในดินเพื่อผสมพันธุ์วางไข่

ทีมงานเกษตรสัญจร by ทีมงานเกษตรสัญจร
พฤษภาคม 31, 2021
in ข่าวเกษตร
0
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั่วประเทศ เฝ้าระวังจักจั่นในไร่อ้อย
0
SHARES
55
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั่วประเทศ เฝ้าระวังจักจั่นในไร่อ้อย

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในทุกภาคของประเทศไทย เฝ้าระวังการระบาดของจักจั่นในไร่อ้อยโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกอ้อยต่อเนื่อง 

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้มีรายงานว่า พบการเข้าทำลายของจักจั่นอ้อยในหลายพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อย และเริ่มพบตัวเต็มวัยจากตัวอ่อนที่อยู่ในดินเพื่อผสมพันธุ์วางไข่ ประกอบกับรายงานสถานการณ์การระบาดของจักจั่นอ้อยในช่วงปี 2563 พบว่ามีการระบาดของจักจั่นในพื้นที่ปลูกอ้อยภาคกลางได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง พื้นที่มากกว่า 6,000 ไร่ โดยพื้นที่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากอ้อย ทำให้ต้นอ้อยชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น เหี่ยว และแห้งตาย ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลงเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวขยายเป็นวงกว้าง กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกอ้อยอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดให้แจ้งเกษตรกรแปลงปลูกข้างเคียงให้เฝ้าระวัง และรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชที่อยู่ใกล้เคียงทราบ เพื่อรับคำแนะนำได้ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุม ป้องกันกำจัดการระบาดแล้ว 

สำหรับ วงจรชีวิตจักจั่น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข่ โดยตัวเมียจะเจาะเส้นกลางใบอ้อยเป็นรูเล็ก ๆ เพื่อวางไข่ มักพบที่ใบแก่สีเขียว ประมาณใบที่ 3 – 5 นับจากใบล่าง จากนั้นเส้นกลางใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อนทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 1 – 2 เดือน  ระยะตัวอ่อนของจักจั่นในอ้อย มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย ต่างกันที่ตัวอ่อนในระยะแรกไม่มีปีก เมื่อลอกคราบ ปีกจะค่อย ๆ ยาวออกมา ซึ่งในระยะตัวอ่อน จะเป็นระยะที่สร้างความเสียหายให้กับอ้อย โดยตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในดินที่ความลึกตั้งแต่ 30 เซนติเมตรถึง 2.5 เมตร คอยดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากอ้อย ตัวอ่อนจะมีขาคู่หน้า ขนาดใหญ่สำหรับไว้ขุดดิน ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในดินใช้เวลาประมาณ 6 – 8 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานและทำความเสียหายให้กับผลผลิตอ้อยได้มาก ส่วนระยะตัวเต็มวัย เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่จะขุดรูโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินและจะไต่ขึ้นมาบนลำต้นอ้อยเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม โดยระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ดังนั้น วงจรชีวิตโดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ 1 ปี หรืออาจมากกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำให้เกษตรกรดำเนินป้องกันกำจัดจักจั่นในอ้อย ดังนี้

  1. หมั่นสำรวจแปลงอ้อย โดยสังเกตคราบของจักจั่นบนต้นอ้อยหรือบนพื้นดิน และตัวเต็มวัยที่เกาะบนต้นอ้อย
  2. ในพื้นที่ที่มีการระบาดให้ใช้วิธีเขตกรรม เช่น การขุดหรือไถพรวนเพื่อจับตัวอ่อนในดิน หรือการเก็บตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน หรือใช้วิธีตัดใบอ้อยที่พบกลุ่มไข่ของจักจั่นไปทำลายนอกแปลง หรือปรับเปลี่ยนปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของจักจั่น เช่น ปลูกข้าวสลับกับอ้อย 
  3. ใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงหางหนีบ โดยปล่อยแมลงหางหนีบ จำนวน 500 ตัวต่อไร่ ก่อนการระบาดของจักจั่น 1 เดือน เพื่อกำจัดตัวอ่อนระยะฝักจากไข่ 
  4. จับตัวเต็มวัยเพื่อนำไปทำลายหรือประกอบอาหาร เพื่อกำจัดจักจั่นตัวเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณแมลงที่จะระบาดในฤดูกาลถัดไปได้

 

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

 

#PRNews #กรมส่งเสริมการเกษตร #เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย #เกษตรสัญจร #จักจั่นในไร่อ้อย

  —————————

เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร

Facebook: facebook.com/kasetsanjorn

YouTube: youtube.com/c/Kasetsanjorn

Twitter: twitter.com/kasetsanjorn/

Website: kasetsanjorn.com

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
Tags: PRNEWSกรมส่งเสริมการเกษตรจักจั่นในไร่อ้อยเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเกษตรสัญจร
ทีมงานเกษตรสัญจร

ทีมงานเกษตรสัญจร

Related Posts

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

กันยายน 26, 2022
หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

สิงหาคม 13, 2022
วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

สิงหาคม 4, 2022
“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

เมษายน 4, 2022
พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

มีนาคม 7, 2022
เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

กุมภาพันธ์ 22, 2022

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ