• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

อธิบดีกรมปศุสัตว์ย้ำโรคลัมปี สกินเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค-กระบือไม่ติดต่อถึงสุกร

โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ ซึ่งมีรายการการศึกษาว่าติดต่อสู่แพะได้ แต่ไม่ติดต่อสู่สัตว์ชนิดอื่น อาทิเช่น สุกร สุนัข และไม่ใช่โรคที่ติดสู่คน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย

ทีมงานเกษตรสัญจร by ทีมงานเกษตรสัญจร
พฤษภาคม 25, 2021
in ข่าวเกษตร
0
อธิบดีกรมปศุสัตว์ย้ำโรคลัมปี สกินเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค-กระบือไม่ติดต่อถึงสุกร
0
SHARES
22
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

อธิบดีกรมปศุสัตว์ย้ำโรคลัมปี สกินเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค-กระบือไม่ติดต่อถึงสุกร

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงกรณีที่สิ่อโซเชียลได้เผยแพร่ข่าวลัมปี สกินติดต่อมาถึงสุกร พร้อมทั้งระบุว่า “ช่วงนี้คนชอบกินเนื้อวัว เนื้อหมู ต้องพิจารณาดีๆ ลามถึงหมูแล้ว” และเผยแพร่ภาพโคป่วยด้วยอาการเป็นตุ่มทั่วตัวด้วยโรคลัมปี สกิน เทียบภาพคู่กับภาพสุกรมีอาการเป็นตุ่มแดงที่บริเวณขาหลัง นั้น กรมปศุสัตว์ขอย้ำว่า โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ ซึ่งมีรายการการศึกษาว่าติดต่อสู่แพะได้ แต่ไม่ติดต่อสู่สัตว์ชนิดอื่น อาทิเช่น สุกร สุนัข และไม่ใช่โรคที่ติดสู่คน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือก อัตราการป่วยอยู่ที่ 5 – 45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพสุกรมีรอยโรค ตุ่มนูนแดง กระจายตัวที่บริเวณขาหลัง นั้น อาการแสดงลักษณะนี้ สามารถวินิจฉัยแยกโรคออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กรณีโรคไม่ติดเชื้อ เช่น แมลงกัดต่อยจนเกิดอาการของเป็นตุ่มนูนแดง หรือกรณีโรคติดเชื้อ เช่น โรคฝีดาษสุกร (swine pox) เป็นเชื้อไวรัส ซึ่งก่อโรคเฉพาะในสุกร ไม่ติดต่อสู่คน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ปศุสัตว์ชนิดอื่น ซึ่งกล่าวโดยสรุป คือ โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดต่อในโค กระบือ แต่ไม่ติดต่อสู่คนและสัตว์ชนิดอื่น โรคฝีดาษ-สุกร เกิดโรคเฉพาะในสุกร ไม่ติดต่อสู่สัตว์ชนิดอื่น และไม่ติดต่อสู่คน ดังนั้น การบริโภคเนื้อสัตว์จึงต้องรับประทานสุกทุกกรณี เพื่อหลีกเลี่ยงโรคบางโรคที่เกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ เช่น โรคท้องร่วง หรือ โรคหูดับ (Streptococcus suis)

ดังนั้น หากเกษตรกรพบว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีอาการดังข้างต้น ขอให้รีบแจ้งสายด่วนแจ้งโรคระบาดกรมปศุสัตว์ call center 063-2256888 ซึ่งเป็นบริการโทรศัพท์รับแจ้งโรคและทุกกรณีด้านสุขภาพสัตว์ ที่จะช่วยประสานการติดต่อระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ นอกจากนี้ เกษตรกรและประชาชนทั่วไปยังสามารถแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” ได้ตลอดเวลา เพื่อกรมปศุสัตว์จะได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที อันจะเป็นการลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากโรคนี้ได้ และสามารถติดตามสถานการณ์การระบาดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคลัมปี สกิน ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือที่ https://sites.google.com/view/dldlsd/home  อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

 

***************************

ข้อมูล/ข่าว :  นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์

ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

 

#PRNews #กรมปศุสัตว์ #เกษตรสัญจร #โรคลัมปีสกิน #โคกระบือ #สุกร

—————————

เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร

Facebook: facebook.com/kasetsanjorn

YouTube: youtube.com/c/Kasetsanjorn

Twitter: twitter.com/kasetsanjorn/

Website: kasetsanjorn.com

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
Tags: PRNEWSกรมปศุสัตว์สุกรเกษตรสัญจรโคกระบือโรคลัมปีสกิน
ทีมงานเกษตรสัญจร

ทีมงานเกษตรสัญจร

Related Posts

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

กันยายน 26, 2022
หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

สิงหาคม 13, 2022
วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

สิงหาคม 4, 2022
“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

เมษายน 4, 2022
พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

มีนาคม 7, 2022
เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

กุมภาพันธ์ 22, 2022

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ