• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

กรมประมง เตือน..!! เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน

kasetsanjorn by kasetsanjorn
มิถุนายน 4, 2020
in ข่าวเกษตร
0
กรมประมง เตือน..!! เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน
9
SHARES
207
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

นายบรรจง จำนงศิตธรรม รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เริ่มเข้าสูฤดูฝนหลายพื้นที่เริ่มมีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาวะอากาศ อุณหภูมิน้ำและออกซิเจนในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้สัตว์น้ำทั้งที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติและที่เกษตรกรเลี้ยงอยู่ไว้ในบ่อดิน รวมถึงในกระชังปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ เสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่าย และตายอย่างฉับพลันได้

จึงขอให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตรียมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้
-วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับจำหน่ายได้ก่อนฤดูน้ำหลาก
-ควรคัดเลือกลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้
-ควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมหรือน้อยกว่าปกติ เพื่อลดความสูญเสียจากคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


-เลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพที่ดี และให้อาหารสัตว์น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เสริมสารอาหารหรือวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เช่น โปรไบโอติก วิตามินซี วิตามินรวม เป็นต้น
-วางแผนจัดการคุณภาพน้ำที่ดี ให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำหากสภาพอากาศปิด มีฝนตก ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงอย่างฉับพลัน สามารถป้องกันการตายของสัตว์น้ำได้ โดยเปิดเครื่องตีน้ำหรือสูบน้ำในบ่อให้สัมผัสอากาศจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ หากฝนตกหนัก ค่าความเป็นกรด-ด่าง (พีเฮช, pH) ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีค่าลดลง ควรโรยปูนขาวหรือปูนมาร์ล เพื่อควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง และเติมเกลือแกง เพื่อลดความเครียดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อ นอกจากนี้ควรควบคุมการใช้น้ำ และรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีปริมาณพอเหมาะ หรือ มีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
-ระหว่างเลี้ยง ควรทำความสะอาดพื้นบ่อ กรณีที่เลี้ยงในกระชังให้ทำความสะอาดกระชังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ เศษอาหาร มูลของเสีย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของปรสิตรวมถึงเชื้อโรคต่างๆ


-ปรับปรุงบ่อ, เสริมคันบ่อหรือทำผนังบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่านๆ มาพร้อมจัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้ร่องระบายน้ำตื้นเขินออกไป
-ควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีมีสัตว์น้ำป่วยตายควรกำจัดโดยการฝังหรือเผาไม่ควรทิ้งสัตว์น้ำป่วยไว้ในบริเวณบ่อหรือกระชังที่เลี้ยง เพราะจะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคทำให้การระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว

-กรณีเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรหมั่นตรวจสอบดูแลความคงทนแข็งแรงของกระชังให้มีระยะห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก

สำหรับโรคสัตว์น้ำที่พบได้บ่อย และควรเฝ้าระวังในช่วงฤดูฝน ได้แก่
-โรคที่เกิดจากปรสิต ที่พบในปลา เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส เหาปลา และหมัดปลา ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ อาทิ ว่ายน้ำผิดปกติ หายใจถี่ มีจุดแดงตามผิวลำตัว เป็นต้น สามารถรักษาได้โดยใช้ด่างทับทิม 1-2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน แต่หากเป็นการรักษาปลาที่เลี้ยงไว้ในกระชัง ให้ใช้ผ้าใบหุ้มกระชังก่อนสาดสารเคมี นอกจากนี้ ยังสามารถแช่ขวดหรือถุงด่างทับทิม หรือถุงเกลือ ไว้ในกระชังเป็นจุด ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณปรสิตที่อยู่ในกระชังและลดความเครียดให้ปลาได้ด้วย


-โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่พบในปลา เช่น วิบริโอ สเตรปโตคอคคัส แอโรโมแนส ฟลาโวแบคทีเรียม เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียมักจะฉวยโอกาสเข้าไปทำอันตรายปลาเมื่อปลาอ่อนแอ และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านทางกระแสเลือด โดยปลาที่ป่วยจะมีอาการซึม ไม่กินอาหาร มีแผลเลือดออกตามลำตัวและอวัยวะต่าง ๆ มีตุ่มฝีที่บริเวณใต้คางและผิวลำตัว ตาขุ่น ตัวด่าง ทยอยตาย กรณีกุ้งให้สังเกตสีตับ เหงือก ผิวตัว ทั้งนี้ หากพบสัตว์น้ำมีอาการดังกล่าว ควรส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจสอบหาชนิดแบคทีเรีย และใช้ยาต้านจุลชีพที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อโรคนั้นๆ

-โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบในปลา เช่น เคเฮชวี และทีไอแอลวี เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีไวรัสอีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยสัตว์น้ำที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ แต่อาการโดยรวม คือ ไม่กินอาหาร อัตราการตายสูง การป่วยด้วยเชื้อไวรัสจะไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรจึงควรป้องกันโดยให้ความสำคัญกับการจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดความเสี่ยงและลดช่องทางในการรับเชื้อ
เกษตรกรควรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจาก ทางราชการอย่างใกล้ชิด และหากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด /สัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ทุกแห่งทั่วประเทศ และกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2562-0600-15

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
kasetsanjorn

kasetsanjorn

Related Posts

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

กันยายน 26, 2022
หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

สิงหาคม 13, 2022
วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

สิงหาคม 4, 2022
“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

เมษายน 4, 2022
พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

มีนาคม 7, 2022
เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

กุมภาพันธ์ 22, 2022

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ