• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

“เขียวแลว” อาหารชุมชน (FOOD BANK) ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

kasetsanjorn by kasetsanjorn
มิถุนายน 4, 2020
in ข่าวเกษตร, เกษตรเคล็ดลับ
0
“เขียวแลว” อาหารชุมชน (FOOD BANK) ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
561
SHARES
857
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

ในอดีตประชากรหรือกบภูเขามีจำนวนมากจัดเป็นอีกเมนูที่ชาวแม่ฮ่องสอนนำมาบริโภคเหมือนอาหารพื้นบ้านทั่วไป อีกทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายตามร้านอาหารหลายแห่งลักษณะเฉพาะของเขียดแลวคือ มีเนื้ออร่อย แน่น ไม่มีไขมัน จนกระทั่งจำนวนลดลงในสภาวะอันตรายถึงขั้นอาจสูญพันธุ์ จนต้องมีการรณรงค์เพื่อหยุดจับเขียดแลว บริโภค

ทางกรมประมง จึงได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยเขียดแลวและประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ปี 2530 กระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตลูกเขียดแลวได้ในปริมาณ 50,000-100,000 ตัว ต่อปี แล้วนำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม

สำหรับการเพาะเลี้ยง-อนุรักษ์เขียดแลวที่ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ดำเนินการด้วยการสร้างอาคารซึ่งภายในจำลองเลียนแบบสภาพทางธรรมชาติให้ใกล้เคียงที่สุด ปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆ จัดทำเป็นลำธาร นำตอไม้หรือท่อนไม้และก้อนหินมาตกแต่งเพื่อเป็นที่หลบตัวของเขียดแลว จัดทำเป็นโครงล้อมด้วยตาข่ายและประตูเปิด-ปิด โดยจำนวนการเลี้ยงที่เหมาะสมให้คัดพ่อ-แม่พันธุ์ จำนวน 200 ตัว (อัตราส่วนเพศผู้-เมีย 1 : 1)

การผสมพันธุ์วางไข่จะเกิดในช่วงกลางคืนจนถึงเช้า โดยตัวผู้จะขุดหลุมแล้วใช้ขาหลังถีบตะกุยกรวดออกเป็นกองในรูปทรงกลม ในบริเวณระดับน้ำลึก 2-5 เซนติเมตร ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แล้วส่งเสียงร้องเพื่อต้องการผสมพันธุ์ เมื่อสิ้นสุดการผสมพันธุ์แล้วทั้งตัวเมียและตัวผู้จะช่วยกันกลบหลุมไข่จนทำให้ก้อนกรวดเป็นกองนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีการวางไข่ในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม จากนั้นนำไข่มาทำความสะอาดด้วยน้ำ แล้วนำไปฟักในถาดฟัก ใช้เวลาฟักประมาณ 5-7 วัน จนได้เป็นลูกอ๊อดแล้วจึงนำไปอนุบาล

ในช่วงอนุบาลใช้บ่อปูนที่ใส่น้ำไว้ 10-15 เซนติเมตร ติดตั้งระบบลมพร้อมถ่ายน้ำและตะกอนในทุก 2-3 วัน ให้อาหารผงผสมน้ำแล้วปั้นเป็นก้อนให้ลูกอ๊อดกินทุกวันในช่วง 50-60 วัน จนมีพัฒนาการเป็นลูกกบที่พร้อมขึ้นฝั่ง โดยในช่วงนี้ถือเป็นช่วงอ่อนแอที่สุด จึงจำเป็นต้องพ่นละอองน้ำเพื่อให้ลูกกบได้รับความชื้นตลอดเวลาช่วยให้มีความแข็งแรง โดยอาหารในช่วงลูกกบ ได้แก่ หนอนนกขนาดเล็กหรือปลวก

ช่วงกบโต จะเลี้ยงในบ่อปูนโดยจะต้องทำความสะอาดแล้วตากบ่อให้แห้งก่อนปล่อย จัดสภาพภายในบ่อตลอดจนในโรงเลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติด้วยการใช้ต้นไม้แล้วสร้างเป็นลำธารที่มีน้ำไหลตลอดเวลา ทั้งนี้ ในช่วงฤดูร้อนจะต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยการพ่นไอหมอกตลอดเวลาการเลี้ยงประมาณ 15 เดือน ทั้งนี้ เขียดแลวจะมีอัตรารอดประมาณกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 30-37 กรัม มีความยาวเฉลี่ย 10 เซนติเมตร

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กำหนดเป้าหมายการเพาะ-ขยายพันธุ์เขียดแลวไว้ 2 แนวทาง คือ

  1. เพื่อปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ต่อจากนั้นให้เขียดแลวที่ปล่อยมีการขยายพันธุ์ทางธรรมชาติต่อไป
  2. เพื่อร่วมกับการทำงานในเชิงวิจัยปรับปรุงพันธุ์ โดยในอนาคตอาจให้ชาวบ้านนำเขียดแลวที่ปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์แล้วไปเพาะ-เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป

เนื่องจากเนื้อเขียดแลวมีลักษณะเป็นลิ่ม รสชาติดี กระดูกอ่อน เหมาะกับการแปรรูปเป็นอาหารได้หลายเมนู อาทิ กบทอดกระเทียม ผัดเผ็ด ต้มยำ ฯลฯ

นอกจากนั้น ผอ.ศูนย์ ยังมองว่า เขียดแลวที่เพาะ-ขยายเพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับชาวแม่ฮ่องสอนที่เคยกินกันอยู่เป็นประจำมานาน อีกทั้งยังต้องการสร้างเอกลักษณ์ของเขียดแลวในฐานะสัตว์ประจำถิ่นด้วยการเซ็ตเมนูอาหารที่โดดเด่นพร้อมโปรโมตให้เป็นเมนูเด่นของจังหวัด หวังให้ผู้ที่จะเดินทางมาเที่ยวแม่ฮ่องสอนได้บริโภคเมนูพิเศษนี้เพียงแห่งเดียว ร่วมกับเมนูปลาแม่น้ำปายที่มีรสอร่อยอีกหลายชนิด แล้วยังเป็นช่องทางอาชีพเสริมรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอนอีก

สอบถามข้อมูลเรื่อง เขียดแลว หรือปลาประจำถิ่นแม่ฮ่องสอน หรือสนใจเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ เรื่องสัตว์น้ำจืด ติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ (053) 684-194

ในอดีตประชากรเขียดแลวหรือกบภูเขามีจำนวนมากจัดเป็นอีกเมนูที่ชาวแม่ฮ่องสอนนำมาบริโภคเหมือนอาหารพื้นบ้านทั่วไป อีกทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายตามร้านอาหารหลายแห่งลักษณะเฉพาะของเขียดแลวคือ มีเนื้ออร่อย แน่น ไม่มีไขมัน จนกระทั่งจำนวนลดลงในสภาวะอันตรายถึงขั้นอาจสูญพันธุ์ จนต้องมีการรณรงค์เพื่อหยุดจับเขียดแลว บริโภค

ทางกรมประมง จึงได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยเขียดแลวและประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ปี 2530 กระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตลูกเขียดแลวได้ในปริมาณ 50,000-100,000 ตัว ต่อปี แล้วนำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม

สำหรับการเพาะเลี้ยง-อนุรักษ์เขียดแลวที่ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ดำเนินการด้วยการสร้างอาคารซึ่งภายในจำลองเลียนแบบสภาพทางธรรมชาติให้ใกล้เคียงที่สุด ปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆ จัดทำเป็นลำธาร นำตอไม้หรือท่อนไม้และก้อนหินมาตกแต่งเพื่อเป็นที่หลบตัวของเขียดแลว จัดทำเป็นโครงล้อมด้วยตาข่ายและประตูเปิด-ปิด โดยจำนวนการเลี้ยงที่เหมาะสมให้คัดพ่อ-แม่พันธุ์ จำนวน 200 ตัว (อัตราส่วนเพศผู้-เมีย 1 : 1)

การผสมพันธุ์วางไข่จะเกิดในช่วงกลางคืนจนถึงเช้า โดยตัวผู้จะขุดหลุมแล้วใช้ขาหลังถีบตะกุยกรวดออกเป็นกองในรูปทรงกลม ในบริเวณระดับน้ำลึก 2-5 เซนติเมตร ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แล้วส่งเสียงร้องเพื่อต้องการผสมพันธุ์ เมื่อสิ้นสุดการผสมพันธุ์แล้วทั้งตัวเมียและตัวผู้จะช่วยกันกลบหลุมไข่จนทำให้ก้อนกรวดเป็นกองนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีการวางไข่ในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม จากนั้นนำไข่มาทำความสะอาดด้วยน้ำ แล้วนำไปฟักในถาดฟัก ใช้เวลาฟักประมาณ 5-7 วัน จนได้เป็นลูกอ๊อดแล้วจึงนำไปอนุบาล

ในช่วงอนุบาลใช้บ่อปูนที่ใส่น้ำไว้ 10-15 เซนติเมตร ติดตั้งระบบลมพร้อมถ่ายน้ำและตะกอนในทุก 2-3 วัน ให้อาหารผงผสมน้ำแล้วปั้นเป็นก้อนให้ลูกอ๊อดกินทุกวันในช่วง 50-60 วัน จนมีพัฒนาการเป็นลูกกบที่พร้อมขึ้นฝั่ง โดยในช่วงนี้ถือเป็นช่วงอ่อนแอที่สุด จึงจำเป็นต้องพ่นละอองน้ำเพื่อให้ลูกกบได้รับความชื้นตลอดเวลาช่วยให้มีความแข็งแรง โดยอาหารในช่วงลูกกบ ได้แก่ หนอนนกขนาดเล็กหรือปลวก

ช่วงกบโต จะเลี้ยงในบ่อปูนโดยจะต้องทำความสะอาดแล้วตากบ่อให้แห้งก่อนปล่อย จัดสภาพภายในบ่อตลอดจนในโรงเลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติด้วยการใช้ต้นไม้แล้วสร้างเป็นลำธารที่มีน้ำไหลตลอดเวลา ทั้งนี้ ในช่วงฤดูร้อนจะต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยการพ่นไอหมอกตลอดเวลาการเลี้ยงประมาณ 15 เดือน ทั้งนี้ เขียดแลวจะมีอัตรารอดประมาณกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 30-37 กรัม มีความยาวเฉลี่ย 10 เซนติเมตร

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กำหนดเป้าหมายการเพาะ-ขยายพันธุ์เขียดแลวไว้ 2 แนวทาง คือ

  1. เพื่อปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ต่อจากนั้นให้เขียดแลวที่ปล่อยมีการขยายพันธุ์ทางธรรมชาติต่อไป
  2. เพื่อร่วมกับการทำงานในเชิงวิจัยปรับปรุงพันธุ์ โดยในอนาคตอาจให้ชาวบ้านนำเขียดแลวที่ปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์แล้วไปเพาะ-เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป

เนื่องจากเนื้อเขียดแลวมีลักษณะเป็นลิ่ม รสชาติดี กระดูกอ่อน เหมาะกับการแปรรูปเป็นอาหารได้หลายเมนู อาทิ กบทอดกระเทียม ผัดเผ็ด ต้มยำ ฯลฯ

นอกจากนั้น ผอ.ศูนย์ ยังมองว่า เขียดแลวที่เพาะ-ขยายเพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับชาวแม่ฮ่องสอนที่เคยกินกันอยู่เป็นประจำมานาน อีกทั้งยังต้องการสร้างเอกลักษณ์ของเขียดแลวในฐานะสัตว์ประจำถิ่นด้วยการเซ็ตเมนูอาหารที่โดดเด่นพร้อมโปรโมตให้เป็นเมนูเด่นของจังหวัด หวังให้ผู้ที่จะเดินทางมาเที่ยวแม่ฮ่องสอนได้บริโภคเมนูพิเศษนี้เพียงแห่งเดียว ร่วมกับเมนูปลาแม่น้ำปายที่มีรสอร่อยอีกหลายชนิด แล้วยังเป็นช่องทางอาชีพเสริมรายได้ให้ชาวแม่ฮ่องสอนอีก

สอบถามข้อมูลเรื่อง เขียดแลว หรือปลาประจำถิ่นแม่ฮ่องสอน หรือสนใจเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ เรื่องสัตว์น้ำจืด ติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ (053) 684-194

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
kasetsanjorn

kasetsanjorn

Related Posts

กระต่ายเนื้อ

“กระต่ายเนื้อ” สัตว์เศรษฐกิจปี 2566 ที่น่าลงทุน สร้างรายได้

กุมภาพันธ์ 4, 2023
เต่าซูลคาต้า

“เลี้ยงเต่าซูลคาต้า” เต่าบกยักษ์ สัตว์เลี้ยงมงคล เลี้ยงง่าย อายุยืน

มกราคม 28, 2023
ไก่ตีนโต

“ไก่ตีนโต” สัตว์เศรษฐกิจมาแรง เลี้ยงง่าย รายได้งาม

มกราคม 23, 2023
ชะอม

รวมเทคนิค “ปลูกชะอม” ให้สร้างรายได้ทุกวัน

มกราคม 15, 2023
ปลูกผักอย่างไร ? ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ปลูกผักอย่างไร ? ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

มกราคม 12, 2023
ไผ่ซางหม่น

ไผ่ซางหม่น ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บผลผลิตได้ถึงชั่วลูกชั่วหลาน

มกราคม 7, 2023

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ