• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

ชาเปลือกผลมังคุด….สุดยอดน้ำชาเพื่อสุขภาพ

kasetsanjorn by kasetsanjorn
มิถุนายน 2, 2020
in ข่าวเกษตร, เกษตรเคล็ดลับ
0
ชาเปลือกผลมังคุด….สุดยอดน้ำชาเพื่อสุขภาพ
15
SHARES
2.1k
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

เปลือกผลมังคุด ( Mangosteen Pericarp ) มีสารพฤกษเคมี ( Phytochemicals ) กลุ่มโพลีฟีนอลิกส์ ( Polyphenolics ) สรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidants ) ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเรา ได้แก่ พรีนิเลท แซนโทน ( Prenylaled Xanthones ) แอนโทไซยานิน ( Anthocyanins ) และ คอนเดนส์ แทนนิน ( Condensed Tannins )

ระบุว่า สารพฤกษเคมี ที่มีอยู่นั้น มีสรรพคุณ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง เนื้องอก แก้เบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด แก้ปัญหาไขมันอุดตันเส้นเลือด ปกป้องหัวใจ แก้โรคอ้วน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านไวรัส รักษาโรคเอดส์ ลดอาการอักเสบจากแผลเรื้อรัง แก้โรคข้ออักเสบ แก้ไข้ แก้โรคหวัด กำจัดเชื้อวัณโรค แก้โรคระบบประสาท โรคอัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม โรคพาร์กินสัน รักษาโรคท้องร่วง รักษาโรคบิด รักษาโรคผิวหนังผดผื่นคันอาการแพ้ต่างๆ กระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงสายตา ชลอความชราคงวัยหนุ่มสาว

แซนโทน พบในส่วนที่เป็นน้ำยางสีเหลืองเขียว อยู่ในท่อน้ำยาง สังเกตเป็นเส้นประสีเหลืองเล็กๆในเนื้อในของเปลือก เปลือกนอกแข็งเวลาแก่จัดจะมีสีม่วงดำ ของแอนโทไซยานินซึ่งสะสมอยู่บริเวณนี้มากสุด รวมทั้งมีในเนื้อเปลือกที่เป็นสีชมพูอมม่วงอยู่ด้วย ส่วนแทนนิน สารหลักได้แก่ โปรไซยานิดินส์ ( Procyanidins ) มีมากสุดจากผิวด้านในเข้าไปเนื้อในของเปลือก มีน้อยลงเรื่อยๆจนสุดที่ผิวเปลือกนอก ปริมาณสวนทางกันกับแอนโทไซยานิน

แทนนิน ทำปฏิกิริยากับโปรตีนในน้ำลาย ทำให้รู้สึกฝาดเฝื่อน ทั้งแอนโทไซยานินและคอนส์เดนส์ แทนนิน ต่างละลายได้ในน้ำ ต่างจาก แซนโทน ไม่ละลายในน้ำเย็น แต่ละลายได้ในน้ำร้อน

ภายในเปลือกผลมังคุดสด จะมีน้ำย่อยโพลีฟีนอล ออกซิเดส ( Polyphenol Oxidases = PPO ) ซึ่งปกติอยู่ภายในเซลล์เนื้อเปลือกคนละที่กันกับสารโพลีฟีนอลิกส์ แต่เมื่อทำให้เกิดแผล จากการผ่าเฉือนก็ดี ทำให้เปลือกให้แตกหรือจากการกระแทกก็ดี น้ำย่อยดังกล่าว ก็จะมีโอกาสเจอะเจอกับสารโพลีฟีนอลิกส์ เข้าเร่งปฏิกิริยาออกซิไดซ์ สารโพลีฟีนอล ให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เกิดเป็นสีน้ำตาล ดังที่เห็น

การแช่เปลือกผลมังคุด ในน้ำที่มีส่วนผสมของกรดมะนาว 0.5 % เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง pH ~ 3.0 ไม่ให้เหมาะสมต่อการเข้าทำปฏิกิริยาของน้ำย่อย ช่วยยับยั้ง PPO ไม่ให้ก่อเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ดังกล่าวแล้วข้างต้น ส่วนเกลือแกงที่ใส่ลงไป 1 % ก็เพื่อช่วยเคลือบปกป้องไม่ให้พื้นผิวของเปลือกผลมังคุดสัมผัสกับอากาศ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ยังคงรักษาคุณค่าของสารต้านอนุมูลอิสระในเปลือกผลมังคุดไว้ได้

ขณะที่แช่เปลือกผลมังคุด : เปลือกผลมังคุด หั่นชิ้นเล็ก 500 กรัม แช่ในน้ำ 1 ลิตร +กรดมะนาว 5 กรัม + เกลือแกง 10 กรัม สารแอนโทไซยานินส่วนหนึ่ง และ คอนเดนส์ แทนนิน ส่วนมากซึ่งอยู่บริเวณเนื้อเปลือกที่นุ่มด้านใน จะละลายซึมออกมา ใช้เวลาแช่อย่างน้อย 24 ช.ม.

สังเกตได้ว่า น้ำที่สกัดออกมาได้ จะมีความฝาดมากทีเดียว นี่เท่ากับได้แยกเอาแทนนินส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นอันตราย ต่อ ตับ และ ไต หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ออกมาแล้วเป็นส่วนมาก ทำให้ใช้ประโยชน์จากแซนโทนและแอนโทไซยานินส์ ในเปลือกผลมังคุดได้มากขึ้น ไม่ต้องเกรงว่า ปริมาณแทนนิน จะส่งผลกระทบต่อร่างกายในทางลบ

แยกนำเปลือกผลมังคุดที่แช่ไว้ ไม่ต้องล้างน้ำ ปล่อยให้สะเด็ดน้ำ นำไปตากแดดให้แห้ง แดดจัดสัก 3 แดด ก็พอแห้ง ระหว่างที่น้ำระเหยออกจากเปลือก ความเป็นกรดและความเค็ม ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนแห้ง ทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น จากนั้นเก็บเปลือกไว้ใช้

วิธีใช้
ต้มเปลือกผลมังคุดแห้ง 1.5-2.0 กรัม กับ น้ำ 1 ลิตร ด้วยไฟกลางจนเดือด 10 นาที เคี่ยวต่อด้วยไฟอ่อนอีก 10 นาที กรองเอากากออก กรอกใส่กระติกน้ำร้อนไว้ดื่ม สำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ขณะท้องว่าง หลังอาหาร 3 มื้อ 1 ช.ม. คนปกติเพื่อเสริมสุขภาพ ดื่มวันละ 1 แก้ว ขณะท้องว่าง แล้วแต่จะสะดวก

หมายเหตุ :

การล้างผลมังคุด หากต้องการเปลือกไว้ใช้
แช่ผลมังคุดในสารละลายเบกกิ้งโซดา หรือ โซเดียม ไบคาร์บอเนต 1/2 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 10 ลิตร นาน 15 นาที แล้วล้างน้ำ ให้สะอาดอีก 2 ครั้ง

ตามปกติ ล้างแค่น้ำเปล่า 2 ครั้ง ก็น่าจะพอแล้วครับ เพราะมังคุดชื่อว่าเป็น ผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด เนื่องด้วยการทำลายของแมลงศัตรูพืช จะอยู่ในช่วงของการแตกใบอ่อน และระยะออกดอกติดผลเล็ก เมื่อผลโตขึ้นผ่านมาระยะหนึ่งแล้ว ก็มักไม่ค่อยมีแมลงอะไรเข้ารบกวน อย่างน้อยเว้นห่างหลายเดือน ที่ไม่ได้ฉีดพ่นยาครับ ก่อนการเกี่ยวเก็บผลผลิตครับ

เราอาจซื้อมังคุดมาเพื่อเอาเปลือก ส่วนเนื้อในก็นำไปแปรรูป จะทำเป็นน้ำมังคุด เป็นไวน์สุดแท้แต่ เอาเปลือกทำชาเปลือกผลมังคุด บดเป็นผงทำอาหารเสริมในรูปแคปซูล เพิ่มมูลค่า

ส่วนน้ำเปลือกผลมังคุดที่สกัดได้ นำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่ต้องเพิ่มขั้นตอนแต่งรสกลบความฝาดให้น่ากิน เช่น ด้วย กระเจี๊ยบแดง เพิ่มความหวานด้วยหญ้าหวาน เป็นต้น หรือ ทำสบู่เหลวล้างมือฆ่าเชื้อ หรือไม่รู้จะนำไปทำอะไร ก็เก็บเอาไว้ฉีดพ่นพืช เพื่อป้องกันโรคและแมลง ใช้ 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ลองดู มีเรื่องให้ทำเยอะแยะ คิดต่อยอดกัน ทุกๆอย่าง ไม่ลองไม่รู้ นะครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : อ.สุวัฒม์ ทรัพยะประภา ที่ปรึกษาเพจเกษจรสัญจร

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
kasetsanjorn

kasetsanjorn

Related Posts

กระต่ายเนื้อ

“กระต่ายเนื้อ” สัตว์เศรษฐกิจปี 2566 ที่น่าลงทุน สร้างรายได้

กุมภาพันธ์ 4, 2023
เต่าซูลคาต้า

“เลี้ยงเต่าซูลคาต้า” เต่าบกยักษ์ สัตว์เลี้ยงมงคล เลี้ยงง่าย อายุยืน

มกราคม 28, 2023
ไก่ตีนโต

“ไก่ตีนโต” สัตว์เศรษฐกิจมาแรง เลี้ยงง่าย รายได้งาม

มกราคม 23, 2023
ชะอม

รวมเทคนิค “ปลูกชะอม” ให้สร้างรายได้ทุกวัน

มกราคม 15, 2023
ปลูกผักอย่างไร ? ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ปลูกผักอย่างไร ? ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

มกราคม 12, 2023
ไผ่ซางหม่น

ไผ่ซางหม่น ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บผลผลิตได้ถึงชั่วลูกชั่วหลาน

มกราคม 7, 2023

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ