• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

โรคในมะเขือเทศช่วงอากาศร้อนชื้น

kasetsanjorn by kasetsanjorn
พฤษภาคม 4, 2020
in ข่าวเกษตร
0
โรคในมะเขือเทศช่วงอากาศร้อนชื้น
14
SHARES
413
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

 

ในช่วงนี้อากาศร้อน แถมยังมีพายุฤดูร้อนอีก ทำให้อากาศร้อนชื้น ส่งผลให้พืชผักที่ปลูกเกิดโรคระบาดได้ ซึ่งในช่วงนี้กรมวิชาการเกษตรได้มีข้อเตือนภัยสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศทางทีมเกษตรสัญจรไม่รอช้าจึงรีบนำข้อมูลมาแจ้งต่อชาวพี่น้องเกษตรกรชาวเกษตรสัญจรทันที

โดยโรคที่ระบาดเป็นโรคที่มีสาเหตุจากไวรัส ซึ่งระบาดในมะเขือเทศทุกระยะการเจริญเติบโต แบ่งออกเป็น 4 โรคด้วยกันได้แก่  โรคใบหงิกเหลือง  โรคใบด่างเรียวเล็ก  โรคใบด่างและโรคเหี่ยวลาย เป็นต้น โดยแต่ละโรคสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

1. โรคใบหงิกเหลือง ใบยอดและใบอ่อน หดย่นหงิกมีสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ยอดเป็นพุ่ม ใบที่แตกใหม่มี ขนาดเล็ก ต้นแคระแกร็น ทำให้มะเขือเทศไม่ ติดผลหรือติดผลน้อยมาก

2. โรคใบด่างเรียวเล็ก ใบแสดงอาการด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนม้วนงอต่อมาใบเรียวเล็กกว่าปกติ ถ้าอาการรุนแรงมาก ใบจะเรียวเล็กเหลือแต่เส้นกลางใบ มะเขือเทศจะชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดผล หรือผลมีขนาดเล็ก ถ้าเกิดโรคตั้งแต่ระยะกล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล

 

3. โรคใบด่าง ใบแสดงอาการด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง บางครั้งใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นและมีขนาดเล็กกว่าปกติ ใบที่อยู่ส่วนยอดหรือปลายกิ่งอาจบิดเป็นเกลียว มะเขือเทศชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ติดผลน้อย ผลอาจเกิดอาการด่าง ถ้าเกิดโรคในระยะกล้าต้นจะแคระแกร็น ใบมีขนาดเล็กและลดรูป

4. โรคเหี่ยวลาย ใบปรากฏแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลเข้มหรือดำ กระจายทั่วทั้งใบ หรือเกิดรอยด่างสีเหลือง ใบยอดด่าง และยอดสั้น ใบอ่อนจะแห้งตายจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ใบแก่มีสีเหลืองและขนาดเล็กกว่าปกติ ลำต้นและก้านใบมีรอยขีดสีน้ำตาลเข้มหรือดำตามแนวยาวของลำต้นและก้านใบ มะเขือเทศชะงักการเจริญเติบโต ผลเสียรูปทรง ที่ผิวของผลจะพบอาการเนื้อเยื่อตายเป็นวง ถ้าอาการรุนแรง กิ่งและลำต้นจะเปลี่ยนเป็นสีดำเหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

 

ทั้ง 4 โรคนี้สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับผลผลิตของเกตรกร จึงแนะนำให้เกษตรกรใช้มะเขือเทศพันธุ์ต้านทานโรคคัดเลือกกล้ามะเขือเทศที่แข็งแรง และไม่เป็นโรคไวรัสมาปลูก ควรหมั่นตรวจ กำจัดวัชพืชในแปลง และรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัส และแมลงพาหะ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลงไปทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคในแปลงที่จะปลูกฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อใกล้แปลงปลูกมะเขือเทศ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง กระทกรก ลำโพง โทงเทง ขี้กาขาว ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน พืชตระกูลแตง และพืชตระกูลถั่ว

 

ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรคได้โดยพ่นสารกำจัดแมลงพาหะนำโรค ดังนี้

– แมลงหวี่ขาว ได้แก่ สารอะซีทามิพริด 20% เอสพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

– เพลี้ยอ่อน ได้แก่ สารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

– เพลี้ยไฟ ได้แก่ สารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

 

 

ทั้งนี้โรคที่เกิดในมะเขือเทศไม่ได้มาจากเชื้อไวรัสเพียงอย่างเดียว แต่อาจมาจาก เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และแมลงเป็นพาหะ ลองใช้วิธีกำกัดแมลงสาเหตุโรคดังที่แนะนำ ก็น่าจะช่วยบรรเทาปัญหาของโรคที่เกิดในมะเขือเทศได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

 

 

เรียบเรียงโดย: ทีมงานเกษตรสัญจร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร

(http://at.doa.go.th/ew/pdf/235_apr63_4.pdf)

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
kasetsanjorn

kasetsanjorn

Related Posts

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

กันยายน 26, 2022
หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

สิงหาคม 13, 2022
วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

สิงหาคม 4, 2022
“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

เมษายน 4, 2022
พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

มีนาคม 7, 2022
เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

กุมภาพันธ์ 22, 2022

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ