• หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
เกษตรสัญจร - Kasetsanjorn
ADVERTISEMENT
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
    • เกษตรเคล็ดลับ
    • สมาร์ทฟาร์ม
    • เกษตรกูรู
    • พืชเศรษฐกิจใหม่
    • เกษตรกรหญิง
  • ร้านค้า
  • หลักสูตรอบรม
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
    • Contact Us
    • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)
No Result
View All Result
เกษตรสัญจร
No Result
View All Result
Home ข่าวเกษตร

ช่วงวิกฤตโควิด-19 ใครอยู่บ้านเบื่อๆ มาลองทำต้นไม้แช่น้ำกันเถอะ

kasetsanjorn by kasetsanjorn
เมษายน 24, 2020
in ข่าวเกษตร
0
ช่วงวิกฤตโควิด-19 ใครอยู่บ้านเบื่อๆ มาลองทำต้นไม้แช่น้ำกันเถอะ
31
SHARES
166
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on LINE
ADVERTISEMENT

มีต้นไม้มากมายที่คุณเอามาแช่น้ำในขวดได้ รวมทั้งกระบองเพชร!!!

ในช่วงที่ต้องเก็บตัวอยู่บ้าน หรือหลายคนต้องเปลี่ยนมา work from home เพื่อหนีจากไวรัสตัวร้ายที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ อาจเกิดอาการเบื่อ กระวนกระวายใจ หรือวิตกกังวลกับสถาณการณ์ที่ย่ำแย่ขึ้นเรื่อย ๆ ทางทีมงานเกษตรสัญจรมีทางออกที่น่าสนใจมานำเสนอครับ เป็นบทความดี ๆ จากคุณวิทย์ (ศิริวิทย์ ริ้วบำรุง) นักจัดสวนในนาม little tree landscape มาเล่าให้ฟังเรื่องที่มาที่ไป และวิธีการทำต้นไม้แช่น้ำ แบบไม่ยุ่งยาก ให้พี่น้องชาวเกษตรสัญจร ลองทำตามดู พอเห็นอะไรสีเขียวๆ หรือสีสันของต้นไม้ใบหญ้าแล้ว น่าจะทำให้จิตใจที่เศร้าหมอง สดใสขึ้นได้นะครับ

“กิ่งหมากผู้หมากเมีย (Cordyline) ใบยาวมีริ้วสีชมพูอ่อนแก่สลับกันเป็นลวดลายแปลกตาในขวดแก้วที่ตั้งเป็นประจำอยู่บนโต๊ะไม้มะค่าตัวใหญ่ของบ้าน ยังคงเป็นภาพที่พวกเราทุกคนในบ้านจดจำได้แม่นยำ” คุณวิทย์เริ่มเกริ่น

เมื่อมีโอกาสมานั่งล้อมวงคุยกันวันหนึ่ง พวกเราต่างเผยความสงสัยเรื่องจุกสำลีที่อุดปากขวดหมากผู้หมากเมียที่มีรากงอกอยู่ในขวดเต็มไปหมดนั้นออกมา ผมตั้งสมมติฐานเล่นๆ ในใจแล้วบอกทุกคนว่าน่าจะปิดไม่ให้อากาศเข้า ทำให้รากงอกเร็วขึ้น และอาจช่วยป้องกันไม่ให้ยุงลงไปไข่ พ่อผมเสริมอีกเหตุผลว่า น่าจะเป็นเรื่องการพยุงกิ่งในน้ำไม่ให้ขยับไปขยับมาทำให้รากเกิดการสะเทือน

เราไม่ได้สรุปเรื่องนี้กัน เพราะบทสนทนาของเราเปลี่ยนไปหลายเรื่อง และไม่ได้วกกลับมาที่เรื่องนี้อีก แต่ผมคิดว่าก้อนสำลีที่อุดปากขวดเหล่านั้น ทำหน้าที่ทั้งสามอย่างได้ดีไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าเหตุผลไหนจะเป็นเหตุผลเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด

นอกจากต้นหมากผู้หมากเมียแล้ว ต้นไม้ปักน้ำในบ้านที่ผมจำความได้ก็มีกิ่งโกสน ตอนนั้นผมอายุราว 7 – 8 ขวบ จำได้ว่าพ่อสะสมต้นไม้ไว้หลายชนิดในโรงเรือนเล็ก ๆ ข้างบ้าน บางช่วงพ่อก็มีบอนสีเต็มโรงเรือนง่ายๆ ของพ่อ บางช่วงก็เป็นต้นโกสนหลากสีสัน บางช่วงก็เป็นหมากผู้หมากเมีย ขวดแก้วที่มีกิ่งไม้ซึ่งเต็มไปด้วยรากขาวๆ ปักอยู่บนโต๊ะไม้มะค่าอาจเป็นการขยายพันธุ์ไม้สะสมของพ่อผม หรืออาจจะเป็นแจกันประดับโต๊ะฝีมือแม่ผม ซึ่งผมไม่ค่อยแน่ใจนัก

หลังยุคโกสน และหมากผู้หมากเมียปักน้ำ ผมแทบไม่เห็นไม้ปักน้ำเท่าไหร่ ที่เห็นบ้างก็เป็นพวกพลูด่าง พลูเขียว จนมาถึงยุคกวนอิมปักน้ำ ไม้โชคลาภที่คนซื้อมาประดับไว้ในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล

นอกเหนือจากต้นไม้ที่ว่ามา ผมสงสัยว่ามีกิ่งไม้อื่น ๆ อีกไหมที่เราสามารถนำมาปักน้ำเพื่อขยายพันธ์ุ และตกแต่งบ้าน เรื่องนี้น่าสนุก ผมทดลองปักกิ่งพุด ลิปสลิด พญาไร้ใบ โรสแมรี่ บอนสี โกฐจุฬาลัมพา กระชาย บีโกเนีย ก้ามปูหลุด เงินไหล เฟินน้ำ เล็บครุฑ สะระแหน่ฟิลิปปินส์ สมุนไพรต่าง ๆ เช่น ก้านโหระพา ใบมินต์ ที่เด็ดใบไปใช้ในครัวแล้ว แม้แต่แคคตัส หรือไม้อวบน้ำ (Succulent) ในแจกันใส

 

ทุกตัวแตกรากงอกออกมาในน้ำ เป็นการทดลองที่ไม่ได้ยุ่งยาก และฝึกการสังเกต และการรอคอยได้เป็นอย่างดี จะน่าสนุก และตื่นเต้นแค่ไหนถ้าหากกิ่งไม้ที่เราเฝ้าสังเกตทุกวันเริ่มมีรากงอกออกมา

สำหรับเด็กน้อย วัยช่างสังเกตก็น่าจะเป็นกิจกรรมสนุกสนุกที่คุณพ่อคุณแม่ชวนพวกเขาตัดกิ่งไม้หลากชนิดมาปักน้ำในขวดแก้ว วางเรียงไว้บนโต๊ะหรือตามขอบหน้าต่าง แล้วให้เด็กเด็กเฝ้ารอวันที่กิ่งไม้มีรากงอกออกมา และจดบันทึกแยกชนิดต้นไม้ที่ปลูกในน้ำได้ กับปลูกไม่ได้ เป็นทั้งเรื่องการเรียนรู้ของลูกและเรื่องการตกแต่งบ้านของคุณพ่อคุณแม่

 

ข้อดีที่ชัดเจนมากของการนำไม้ปักน้ำมาประดับมุมต่าง ๆ ของบ้าน คือการกำจัดปัญหาเรื่องโรคแมลง และเชื้อโรคในดิน ไม่ต้องกังวลเรื่องการรดน้ำ วางบนเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้ไม่เลอะเทอะ ปรับเปลี่ยนได้ง่าย เป็นเหมือนการจัดดอกไม้ แต่ได้อารมณ์แบบเขียวๆ ของต้นไม้ เหมาะกับคนหลงใหลความชอุ่มของใบไม้ และอยากให้บ้านเต็มไปด้วยสีเขียว และที่สำคัญแจกันกิ่งไม้ของเราจะอยู่กับเรานานกว่าแจกันดอกไม้มาก แม้กิ่งบางกิ่งเมื่อเราเอามาปักแล้วไม่ยอมออกรากสักที ก็สามารถปักอยู่ในน้ำได้แรมเดือน เช่นกิ่งทีทรี (Tea Tree)

 

ภาชนะที่ใช้ควรเป็นภาชนะใส รูปทรงต่าง ๆ ตามชอบ หรือตามที่หาได้ในบ้าน เหลี่ยม กลม โค้งมน สั้น สูง หรือเป็นขวดเหลือใช้ ขวดรีไซเคิล ก็เป็นเรื่องที่ดีงาม เพื่อความสวยงามแนะนำให้เป็นขวดแก้วใสมากกว่าขวดพลาสติก ความใสของขวดจะช่วยให้เราเห็นรากสวยๆ ของต้นไม้ และเราก็ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของราก และกิ่งไปพร้อม ๆ กัน

วิธีตัดกิ่ง เลือกตัดบริเวณโคนใบเฉียง 45 องศาบริเวณที่เรียกว่า Leaf Node ถ้าเราตัดบริเวณนี้จะช่วยให้รากงอกเร็วเพราะบริเวณนี้มีฮอร์โมนอยู่ หลังจากนั้นให้รูดใบด้านล่างออก บางคนอาจจุ่มฮอร์โมนเร่งราก (Hormone Powder) เพื่อให้รากงอกเร็ว แต่เรามีวิธีให้ฮอร์โมนรากแบบง่ายๆ ด้วยการจุ่มกิ่งลงไปในน้ำผึ้ง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อ ทำให้กิ่งของเราไม่ติดเชื้อ และน้ำผึ้งยังมีแร่ธาตุและสารอาหารช่วยกระตุ้นให้รากงอกเร็วขึ้นด้วย

น้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงพืชปักน้ำ แม้ว่าเราจะใช้น้ำก๊อกได้ แต่ถ้าเราเลือกใช้น้ำแร่ในการปลูกก็จะช่วยให้พืชได้รับสารอาหารจากน้ำได้มากขึ้น ปริมาณน้ำที่ใช้ไม่ควรสูงกว่าปลายกิ่ง 1 – 2 นิ้ว ขึ้นกับชนิดของต้นไม้ และควรดูแลให้น้ำในขวดใสสะอาดอยู่เสมอ เพื่อความสวยงามและป้องกันเรื่องการเพาะพันธุ์ของยุง

 

 

สำหรับแคคตัส และไม้อวบน้ำชนิดต่าง ๆ เรานำมาตัดรากเก่าทิ้งแล้ววางไว้ปากขวด รอรากขาวๆ ใหม่ๆ งอกออกมาหาน้ำเอง

ขวดไม้ปักน้ำเหล่านี้เราสามารถนำไปตกแต่งโต๊ะอาหาร ผนังบ้าน ขอบหน้าต่าง โต๊ะทำงาน ชั้นหนังสือ โต๊ะหัวเตียง มุมต่าง ๆ ของบ้านโดยเลือกขนาด และชนิดของกิ่งของต้นไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่นำไปจัดวาง

ถึงตรงนี้ถ้าหลายคนนึกสนุกอยากทำการทดลองไปด้วยกัน ลองหากรรไกรตัดกิ่งไม้สักอัน แล้วเดินออกไปในสวนดูสิว่ามีกิ่งไม้อะไรบ้างที่ถึงเวลาต้องเล็มทิ้งเพราะยื่นออกมาบังทางเดิน หรือมีต้นไม้ใบสวยๆ ที่อยากได้ไปวางบนโต๊ะอาหาร ห้องนอน ชั้นหนังสือ บ้างไหม แนะนำว่าเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็นดีที่สุดครับ ขอให้ทุกคนเพลิดเพลินกับการทดลองสนุกๆ ครั้งนี้นะครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก The Cloud บทความเรื่อง “ต้นไม้แช่น้ำ” จากคุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง

(https://readthecloud.co/plant-2/?fbclid=IwAR2dMMofw4MYMsx1Q0gQ34-uWtnr4qOBcP1NiefDzYBC5Qhh9zP1pwakG6k)

เรียบเรียง : ทีมงานเกษตรสัญจร

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
kasetsanjorn

kasetsanjorn

Related Posts

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

อดีตผู้รับเหมา ชีวิตพบความสุข ปลดหนี้ 7 หลัก ด้วยอาชีพเกษตรกร

กันยายน 26, 2022
หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

หน้าฝนปลูกพืชอะไรดี ?

สิงหาคม 13, 2022
วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

วิธีเลี้ยงจิ้งโกร่ง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้แบบแซงทางโค้ง

สิงหาคม 4, 2022
“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

“มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี” แชมป์ส่งออกสินค้า GI นะครับทุกคนนนนนน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกร

เมษายน 4, 2022
พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

พื้นที่น้อยแล้วไง!! แชร์เทคนิคปลูกผักในกระถาง แม้มีพื้นที่น้อยก็ทำได้  

มีนาคม 7, 2022
เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

เลี้ยงกุ้งฝอย จะไปขายใครได้!! 

กุมภาพันธ์ 22, 2022

Browse by Category

  • advertorial
  • ข่าวเกษตร
  • บทความ
  • พืชเศษรฐกิจใหม่
  • สมาร์มฟาร์ม
  • หลักสูตรอบรม
  • เกษตรกรหญิง
  • เกษตรกูรู
  • เกษตรสัญจรคลิป
  • เกษตรเคล็ดลับ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.
Facebook Twitter Youtube Line

© 2022 เกษตรสัญจร

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ร้านค้า
  • เข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์
  • หลักสูตรอบรม
  • เกี่ยวกับเรา
  • เงื่อนไขและนโยบายข้อมูลส่วนบุคลล (PDPA)

© 2022 เกษตรสัญจร

Welcome Back!

OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

Add New Playlist

เพิ่ม/แก้ไขลิงก์

ใส่ URL ปลายทาง

หรือลิงก์ไปที่เนื้อหาที่มีอยู่

    ไม่ได้ระบุเงื่อนไข กำลังแสดงสิ่งล่าสุด ค้นหาหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อเลือกรายการ