การทำจุลินทรีย์พื้นบ้าน (ตามแนวเกษตรธรรมชาติเกาหลี)
ความเชื่อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะมีความแข็งแรงกว่าจุลินทรีย์ต่างถิ่น เนื่องจาก เคยชินต่อสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เกษตรกรสามารถรวบรวมและขยายพันธุ์จุลินทรีย์ท้องถิ่น ได้เอง โดยแหล่งที่สามารถเก็บจุลินทรีย์พื้นบ้าน ได้แก่ บริเวณที่มีเศษใบไม้ร่วงหล่นทับถม บริเวณ นี้ใบไม้จะสลายตัวโดยตัวจุลินทรีย์ และตัวจุลินทรีย์ที่แข็งแรงสามารถพบในดินขุยไผ่ เพราะระบบ รากของต้นไผ่มีรสหวานช่วยดึงตัวจุลินทรีย์มาอาศัย
วิธีการเก็บจุลินทรีย์พื้นบ้าน
- ใช้ข้าวเจ้าขาวหุงสุก หุงแข็งกว่าปกติเล็กน้อย
- ใส่ข้าวลงในกล่องไม้หรือกล่องพลาสติก (กล่องอาหาร) ใส่ข้าวสูงไม่เกิน 7 ซม. ไม่ต้องกดข้าว หากกดแน่นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ข้างล่างจะได้รับออกซิเจนน้อย
- จากนั้นเอากระดาษปิดกล่อง ไม่ควรใช้ผ้าปิดเพราะผ้าเป็นตัวอุ้มน้ำ
- นำกล่องข้าวไปฝังดินตรงที่มีขุยไผ่ทับถม แล้วใช้พลาสติกคลุมทับอีกชั้นหนึ่งเพื่อ ป้องกันฝน และใช้ตะแกรงคลุมอีกชั้นเพื่อป้องกันหนู และสัตว์กิน
- ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน แล้วเปิดดูจะสังเกตเห็นเชื้อรา สีขาวซึ่งเป็นตัวจุลินทรีย์ที่ดี จึงเก็บเอาข้าวที่มีเชื้อจุลินทรีย์มา หากเป็นสีดำหรือสีแดงส้มแสดงว่าเป็นตัวจุลินทรีย์ที่ไม่ดีไม่ควรเก็บมา
การเพาะเลี้ยงและขยายจุลินทรีย์
- นำข้าวที่มีจุลินทรีย์นั้นมาผสมกับน้ำตาลทรายแดง / น้ำอ้อยอัตรา 1:1 กำดูจนมีน้ำฉ่ำออกมา มีลักษณะข้นเหนียว (น้ำหัวเชื้อ) การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์
- นำน้ำหัวเชื้อใส่ในภาชนะทึบแสง เก็บไว้ในที่เย็น และไม่มีแสงส่องถึง เพื่อให้ จุลินทรีย์ชะลอการท้างาน เก็บไว้นาน 3 วัน
- เอาน้ำหัวเชื้อไปผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1: 1,000
- จากนั้นเอาผสมกับร้าคลุกเคล้าให้มีความชื้นประมาณ 50% กะโดยหยิบรำขึ้นมา กำแล้วเป็นก้อนบิแตกง่าย เอาฟางมาคลุมหนา 1 เซนติเมตร หมักทิ้งไว้ 7 – 10 วัน จึงสามารถ นำไปใช้ได้
วิธีการใช้ประโยชน์
ให้หว่านลงในแปลงที่เตรียมปลูกผัก แล้วเอาฟางคลุมไว้ 3 วัน เพื่อให้เชื้อ จุลินทรีย์ ท้ากิจกรรมย่อยสลายจึงเอาผักมาปลูกได้ หรือเอาดินจากแปลงที่ต้องการปลูกมาผสมในอัตราส่วน เท่ากันคลุกให้เข้ากันทิ้งไว้ 3 วัน แล้วน้าไปปลูกผัก